รวมแอปพลิเคชั่นสามัญประจำเครื่อง ที่ควรมีติดมือถือเอาไว้ [อัปเดท 2021] - Android

Get it on Google Play

รวมแอปพลิเคชั่นสามัญประจำเครื่อง ที่ควรมีติดมือถือเอาไว้ [อัปเดท 2021] - Android

ในยุคที่มือถือกลายมาเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของมนุษย์ ผู้พัฒนาก็ได้สร้างแอปพลิเคชันมากมายเพื่อเอามาตอบสนอง Lifestyle ของผู้ใช้งานทั่วโลก แต่ด้วยความที่ Play Store มีแอปน่าใช้เต็มไปหมดจนไม่รู้ว่าควรใช้แอปไหนดี วันนี้ Droidsans จะมาลิสต์แอปพลิเคชันสามัญประจำมือถือที่ควรมีติดไว้ทุกเครื่อง ในปี 2020 ครับ เนื่องจากแอปพลิเคชันแต่ละรูปแบบก็ได้ถูกพัฒนา และจัดหมวดหมู่ตามการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งทาง Droidsans ก็ได้จัดหมวดหมู่แอปพลิเคชั่นที่จำเป็นสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันไว้ทั้งหมดเป็น 10 หมวด เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และใช้งานโดยแบ่งดังนี้ Social Network – แอปเครือข่ายสังคมออนไลน์ Messaging App – […]

ในยุคที่มือถือกลายมาเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของมนุษย์ ผู้พัฒนาก็ได้สร้างแอปพลิเคชันมากมายเพื่อเอามาตอบสนอง Lifestyle ของผู้ใช้งานทั่วโลก แต่ด้วยความที่ Play Store มีแอปน่าใช้เต็มไปหมดจนไม่รู้ว่าควรใช้แอปไหนดี วันนี้ Droidsans จะมาลิสต์แอปพลิเคชันสามัญประจำมือถือที่ควรมีติดไว้ทุกเครื่อง ในปี 2020 ครับ

เนื่องจากแอปพลิเคชันแต่ละรูปแบบก็ได้ถูกพัฒนา และจัดหมวดหมู่ตามการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งทาง Droidsans ก็ได้จัดหมวดหมู่แอปพลิเคชั่นที่จำเป็นสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันไว้ทั้งหมดเป็น 10 หมวด เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และใช้งานโดยแบ่งดังนี้

  1. Social Network – แอปเครือข่ายสังคมออนไลน์
  2. Messaging App – แอปส่งข้อความติดต่อสื่อสาร
  3. Music and Media – แอปดูหนังฟังเพลง
  4. Photography and Development – แอปกล้องและแต่งรูป
  5. Productivity – แอปเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  6. Online Shopping – แอปซื้อของออนไลน์
  7. Utility – แอปพลิเคชันอรรถประโยชน์
  8. Financial and Online Banking – การเงิน และธนาคารออนไลน์
  9. Maps & Navigation – แผนที่ และการนำทาง
  10. Food Delivery and Transportation – แอปสั่งอาหาร และรถโดยสาร

Social Network – แอปเครือข่ายสังคมออนไลน์

ก็ถือว่าเป็นแอปพลิเคชันหลักที่หลาย ๆ คนใช้เพื่อติดต่อสื่อสารคอยอัปเดตความเคลื่อนไหวของโลกใบนี้ ซึ่งก็ถือว่านับเป็นเวลานานแล้วที่ไม่ได้มีแอปหน้าใหม่เข้ามาในวงการ Social Media เท่าไหร่

Facebook

ถือว่าเป็น 1 ในแอปพลิเคชั่น Social Media ที่ได้รับความนิยมสูงมากทั่วโลก ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครันมากมายทั้งการติดต่อสื่อสาร โพสต์ภาพ วิดิโอต่าง ๆ ทำให้ Facebook ก็ยังคงเป็นแอปที่มีติดมือถือทุกเครื่องอยู่ดีครับ

Twitter

Twitter (Free, Google Play) →

อีกหนึ่งทางเลือกใหม่สำหรับคนที่ไม่ค่อยชอบ Facebook เท่าไหร่นักกับ  Twitter ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ในการอ่านข้อมูลที่เน้นภาพ และตัวอักษรเป็นหลัก แถมยังมีระบบ Hashtag ที่ทำให้การติดตามข่าวสารบ้านเมืองสามารถทำได้รวดเร็วฉับไวมาก ๆ แถมเรายังเห็นผุ้ใช้งานวัยรุ่นไทยเริ่มหันมาเล่น Twitter กันมาขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย

Instagram

Instagram (Free, Google Play) →

อีกหนึ่งแอป Social Media ที่เอาไว้ติดตามชีวิต และอัปเดตความเป็นไปของชีวิตส่วนตัวกับแอปลูกของ Facebook อย่าง Instagram ที่เน้นการโพสต์รูปเป็นหลักทำให้สายถ่ายรูปหลาย ๆ คนน่าจะชอบเป็นอย่างดี แถมยังมาพร้อมกับฟีเจอร์วิดิโอสั้น Instagram Story เอาไว้โพสต์เรื่องราวชีวิตสั้น ๆ อัปเดตเรื่องราวส่วนตัวของเราได้อีกด้วย

Reddit

Reddit (Free, Google Play) →

แอปเก่าแก่ที่ทำงานคล้าย ๆ กับเว็บพันทิปของไทยกับ Reddit ที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่น่าจะเป็นคนต่างชาติเสียมากกว่าซึ่ง Reddit ก็จะเป็นแหล่งรวมคนที่สนใจเรื่องคล้าย ๆ กันมาโพสต์แลกเปลี่ยนข้อมูลกันใน Subreddit สามารถ Upvote หรือ Downvote กันได้เพื่อให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ขึ้นไปอยู่บน ๆ กระทู้เพื่อให้มองเห็นง่ายนั่นเอง

Messaging App – แอปส่งข้อความ

ถัดมาสำหรับแอปพลิเคชั่นส่งข้อความติดต่อสื่อสารซึ่งก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับมือถือทุกเครื่องซึ่งปีนี้ก็ได้มีแอปส่งข้อความใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามาให้ผู้ใช้งานได้เลือกสรรค์กันอีกด้วย แต่สุดท้ายแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับว่าเพื่อน ๆ ที่อยู่ในกลุ่มคุณใช้อะไรอยู่ดีนั่นแหละครับ

Line

LINE: โทรและส่งข้อความฟรี (Free, Google Play) →

ถือว่าเป็นแอปพลิเคชั่นส่งข้อความที่อยู่คู่คนไทยมาเป็นเวลานานพอควรแล้วทีเดียว ด้วยฟีเจอร์การส่งข้อความ โทรเสียง และวิดิโอคอลที่ครบถ้วน ทำให้เป็นแอปที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับมือถือทุกเครื่อง แถมปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาให้กลายเป็นเสมือน Super App ที่มีทั้งบริการธนาคาร ร้านค้าขายของ และอื่น ๆ อีกมากมายในแอปเดียวอีกด้วย

Facebook Messenger

ใช้ Messenger ส่งข้อความ SMS และคุยวิดีโอคอลได้ฟรี (Free, Google Play) →

เป็นอีกหนึ่งบริการที่แยกออกมาจากของ Facebook อย่าง Facebook Messenger ที่มพร้อมฟีเจอร์การส่งข้อความแบบครบวงจรผ่านบัญชี Facebook ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ โทรคุย หรือวิดิโอคอลก็สามารถทำได้ แถมล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ Facebook Messenger ได้มีการควบรวมกับ Instagram Messenger ทำให้ผู้ใช้งานทั้ง 2 แพลตฟอร์มสามารถพูดคุยข้ามกันได้อีกด้วย

Telegram

Telegram (Free, Google Play) →

อีกแอปส่งข้อความที่กำลังมาแรงมากจากสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น แต่จริง ๆ แล้วหลาย ๆ คนกลับไม่รู้ว่า Telegram เป็นแอปพลิเคชั่นส่งข้อความที่ฟีเจอร์เรื่องความสะดวก และความปลอดภัยแน่นมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแชทส่วนตัวที่สามารถตั้งเวลาลบข้อความได้ ไปจนถึงระบบ 2 way Encription ที่ทำให้ข้อความถูกเข้ารหัสปลอดภัยสุด ๆ นั่นเอง สามารถอ่านรีวิวฟีเจอร์เต็ม ๆ ของ Telegram ได้ที่นี่

Music and Media – แอปดูหนังฟังเพลง

หมวดหมู่ต่อไปก็จะเป็นเรื่องของแอปดูหนังฟังเพลง ซึ่งปี 2020 ก็เป็นปีที่หลาย ๆ คนเริ่มสมัครใช้งานบริการ Streaming กันมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก ๆ แถมอีกไม่นานก็จะมีบริการอื่น ๆ มาเปิดเพิ่มในไทยอีกมากมายอีกด้วยซึ่งในหมวดหมู่ที่ก็จะแยกเป็นประเภทบริการอีกรอบได้แก่บริการ สตรีมเพลง และสตรีมหนัง/ซีรีส์

แอปสตรีมเพลง

Spotify

Spotify - เพลงและพอดแคสต์ (Free, Google Play) →

ถือว่าเป็นแอปสตรีมที่เพลงที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกจริง ๆ กับ Spotify ที่มาพร้อม Library เพลงสุดฉลาด สามารถแนะนำเพลงใหม่ ๆ ให้เราได้ตามนิสัย และแนวเพลงที่เราฟัง แถมยังมีเพลงครอบคลุมทุกแนวทุกภาษาอีกด้วย

JOOX

JOOX Music - Live and Karaoke (Free, Google Play) →

แอปสตรีมเพลงยอดนิยมของคนไทยที่สามารถสตรีมเพลงไทยมากมายโดยที่ไม่ต้องเสียค่าบริการ แถมยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ Playlist ตามโอกาสต่าง ๆ แถมยังใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากทำให้เป็นที่นิยมมาก ๆ ในหมู่ผู้ใช้งานไทย

Tidal

TIDAL Music - Hifi Songs, Playlists, & Videos (Free, Google Play) →

แอปสตรีมเพลงสายหูพระกาฬ ที่มีฟีเจอร์เด่นสุดไปอยู่ที่คุณภาพเสียงระดับคุณภาพระดับ MQA แถมยังมี Playlist เพลง Classic ไฟล์เสียงคุณภาพให้ได้เลือกฟังมากมาย ถือว่าเป็นแอปฟังเพลงในดวงใจของ Audiophile ทุกคนเลยทีเดียว

แอปสตรีมหนัง และซีรีส์

Netflix

Netflix (Free, Google Play) →

แอปสตรีมหนังเจ้าแรก ๆ ในไทยที่มาพร้อมกับหนัง hollywood และซีรีส์ดัง ๆ มากมายมาอยู่ในมือถือของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหนัก กาตูน สารคดี ซีรีส์ไทยเทศก็ต้องบอกเลยว่ามาครบครันจริง ๆ แถมยังมีหนัง และซีรีส์ใหม่ที่คอยอัปเดตเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

Amazon Prime

Amazon Prime Video (Free, Google Play) →

แอปคู่แข่ง Netflix ที่เพิ่งเปิดในไทยมาได้ไม่นาน มีซีรีส์ Exclusive มากมายที่สามารถหาดูได้แค่ใน Amazon Prime เท่านั้น แถม Library หนัง Hollywood ก็ไม่ได้น้อยหน้า Netflix เลยอีกด้วย

HBO Go

HBO Go (Free, Google Play) →

ถัดมาอีกแอปกับ HBO Go ที่มีฟีเจอร์ และการใช้งานคล้าย ๆ กับแอป สตรีมมิ่งทั่วไป แต่ก็มาพร้อมกับหนัง และซีรีส์ลิขสิทธิ์แท้ที่หาดูได้จากใน HBO Go เท่านั้นซึ่งถ้าใครรู้จัก HBO ก็น่าจะรู้ว่ามีหนัง Hollywood คุณภาพอยู่ในสังกัดเยอะมาก ๆ ใครเป็นคอหนังไม่ควรพลาดเด็ดขาดครับ สามารถอ่านฟีเจอร์เพิ่มเติมได้ทีนี่

WE TV

WeTV - นางโจร (Free, Google Play) →

แอปสตรีมมิ่งละคร และซีรีส์เอเซียทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น เกาหลี จีน ไทย หรือจะเป็น Anime ก็มีให้เลือกไม่น้อยเลยทีเดียว แถมอีกหน่อยจะเริ่มมี WE TV Original ของแอปเองอีกด้วย อีกจุดที่น่าสนใจคือฟีเจอร์คอมเม้นต์ในซีรีส์ที่เราดูซึ่งคอมเม้นต์นี้จะลอย ๆ  สำหรับใครที่ชอบดูละคร หรือซีรีส์เอเชียต้องโหลดติดเครื่องรับรองฟินจิกหมอนกันแน่นอน

Line TV

LINE TV (Free, Google Play) →

อีกหนึ่งแอปสตรีมมิ่งที่เป็นที่นิยมในหมู่คนไทยเป็นอย่างมาก มาพร้อมละคร และซีรีส์ไทยมากมายให้ได้เลือกดูกันฟรึ ๆ ไม่เสียตังซักบาทเดียว ใครที่เป็นแฟนละครไทยจะต้องโหลดมาลองใช้ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ

MX Player

MX Player (Free, Google Play) →

แอปดูวิดิโอที่อยู่คู่ผู้ใช้งาน Android มานานแสนนาน ด้วยฟีเจอร์การดูวิดิโอที่ครบครัน แถมยังรอบรับสกุลไฟล์ที่หลากหลายทำให้สามารถดูวิดิโอ หรือหนังที่ลงไว้บนมือถือได้สบาย ๆ เลย

Photography and Development – แอปถ่าย/แต่งรูป

ตอนนี้ต้องบอกเลยว่ากล้องมือได้ถูกพัฒนาไปไกลอย่างก้าวกระโดดมาก ๆ ทั้ง Hardware และ Software ทำให้มือถือกลายเป็นกล้องหลักของผู้ใช้งานหลาย ๆ คนซึ่ง Droidsans ก็ได้รวมแอปเกี่ยวกับการถ่ายรูปที่จำเป็นต้องมีติดเครื่องมาไว้ให้ทุกคนได้ลองเลือกใช้กันครับ

Photoshop Camera

Adobe Photoshop Camera: Photo Editor & Lens Filter (Free, Google Play) →

Photoshop Camera มาพร้อมกับฟีเจอร์แต่งรูปด้วยเอฟเฟคแบบ AR และฟิลเตอร์สีสวย ๆ งาม ๆ มากมายช่วยให้สามารถถ่ายรูปที่ดูมีสีสันแปลกตากว่ารูปปกติ แถมยังมีฟีเจอร์เด่นที่ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนท้องฟ้าในรูปเป็นแบบอื่นได้อีกด้วย แถมในแอปยังมีคอมมิวนิตี้ตากล้องที่คอยโพสต์เอฟเฟคต่าง ๆ ให้เราสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้อีกด้วย

Lightroom

Adobe Lightroom - Photo Editor & Pro Camera (Free+, Google Play) →

ถือว่าเป็นโปรแกรมคู่ใจตากล้องทั้งสายสมัครเล่น และมือาชีพกับ Adobe Lightroom เวอร์ชั่นมือถือที่มาพร้อมฟีเจอร์ในการแต่งรูปแบบจัดเต็มเหมือนเวอร์ชั่น PC เลยซึ่งเดี๋ยวนี้มือถือระดับ Mid-range ถึง High-end ขึ้นไปก็เริ่มสามารถถ่ายภาพไฟล์ RAW กันได้แล้ว ทำให้ Lightroom เป็นแอบแต่งรูปที่มีประโยชน์มาก ๆ

Snapseed

Snapseed (Free, Google Play) →

อีกหนึ่งแอปแต่งรูปประจำมือถือใครหลาย ๆ คนกับฟีเจอร์ในการแต่งรูปแบบแตะปุ๊ปเปลี่ยนปั๊บรวดเร็วทันใจ แถมถ้าใครที่ต้องการปรับแต่งแบบละเอียดขึ้นก็สามารถเข้าไปเมนูปรับแต่งอย่างละเอียดได้อีกด้วย ไม่ว่าจะมือสมัครเล่นหรือมืออาชีพก็ควรจะมีติดเครื่องไว้นะครับ

Nomo

NOMO - Point and Shoot (Free+, Google Play) →

แอปฟิลเตอร์กล้องฟีล์มสำหรับสายอินดี้ที่ชอบอารมณ์ และสีของกล้องฟีล์มซึ่ง NOMO ก็มาพร้อมกับฟิลเตอร์ที่ปรับแต่งอ้างอิ้งจากกล้อง และฟิล์มยอดนิยมของจริงขนิดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่ารูปที่ได้ออกมาเป็นฟีล์มจริง ๆ แถมหน้า UI ก็ทำเลียนแบบกล้องจริง ๆ ถ่ายแล้วได้อารมณ์ถ่ายฟีล์มมาก ๆ เลยครับ

Foodie

Foodie - Camera for life (Free, Google Play) →

เป็นอีกแอปแต่งรูปแบบครบวงจรเอาใจสายเกาหลีกับ Foodie ที่มีฟีเจอร์แต่งรูปแบบ Preset ใช้งานง่ายแถมแบ่งประเภทมาให้เรียบร้อยแล้วเช่นถ่ายคน ถ่ายอาหาร ถ่ายวิว ถ่ายกลางแจ้ง หรือในร่มก็มีพร้อมสามารถเลือกใช้ได้เลย อีกทั้งในตัวแอปยังมีผุ้ใช้งานคนอื่นออกมาแชร์ Preset การตกแต่งให้เราสามารถดาวน์โหลดไปใช้ต่อเพื่อให้ได้สีแบบคนอื่นได้อีกด้วย

Productivity – แอปเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

Evernote

Evernote - Notes Organizer & Daily Planner (Free+, Google Play) →

แอปพลิเคชั่นจดโน๊ตสารพัดประโยชน์ที่เชื่อว่าใช้แล้วบอกเลยว่าเลิกไม่ได้เพราะ Evernote มีฟีเจอร์ในการจดทีครบครันมากไม่ว่าจะเป็นการจัดแจงหน้ากระดาษ ไปจนถึงการแยกสมุดเพื่อให้เราสามารถจัดระเบียบบันทึกของเราได้ แถม Evernote ยังทำการ Sync บน Account เดียวกันทำให้เราสามารถใช้งานได้ทั้งบน PC และ มือถือได้ไม่มีาสะดุดไม่ต้องกลัวหายอีกด้วย

Google Service

ขาดไม่ได้เลยจริง ๆ กับแอปเอกสารต่าง ๆ ของ Google ไม่ว่าจะเป็น Doc, Sheets, Slide ไปจนถึงแอปเก็บไฟล์อย่าง Google Drive ที่ทำให้ Eco-system ในการทำงานเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วมาก ๆ แถมทุก ๆ แอปยังเชื่อมต่อตรงกับบัญชี Google ทำให้เก็บงาน และเซฟให้อัตโนมัติแถมยังสามารถแชร์ไฟล์ให้คนอื่นสามารถเข้ามาทำงานได้พร้อม ๆ กันอีกด้วย

Google Doc

Google Docs (Free, Google Play) →

Google Sheets

Google Sheets (Free, Google Play) →

Google Slide

Google Slides (Free, Google Play) →

Google Drive

Google Drive (Free+, Google Play) →

Google One

Google One (Free+, Google Play) →

Pinterest

Pinterest (Free, Google Play) →

เป็นเหมือนกึ่ง ๆ แอป Social Media แต่บอกได้เลยว่า Pinterest เป็นเสมือนเพื่อนซี้ของนักออกแบบ และสายกราฟิกทุกคน เพราะตัวแอปทำงานเหมือนกับแอป Search Engine เอาไว้สำหรับหาไอเดียไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น งานศิลปะ งานวาดรูป งานกราฟิก รูปถ่าย และอื่น ๆ อีกมากมาย ใครทำงานสายศิลปะ หรือขชอบเสพงานอาร์ทสวย ๆ ต้องลองโหลดมาใช้งานกันนะครับ

Online Shopping – แอปซื้อของออนไลน์

อีกหมวดหมู่หนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็น่าแอปช้อปปิ้งออนไลน์ ที่ก็มีให้เลือกมากมายหลายแบบตามความสะดวก ซึ่งแต่ละแอปก็จะจัดโปรโมชั่น และมีชนิดสินค้า และราคาที่แตกต่างกันออกไป แต่การใช้งาน UI และฟังก์ชั่นทั้งหมดของแอปในหมวดหมู่นี้ก็จะได้ไม่ได้ต่างกันมากเท่าไหร่ เพราะงั้นผู้ใช้งานก็สามารถลองโหลดมาใช้ทั้ง 3 แอปแล้วค่อยตัดสินใจทีหลังก็ไม่เสียหายนะ

Shoppee

Shopee No.1 Online Platform (Free, Google Play) →

Lazada

Lazada - #1 Online Shopping App (Free, Google Play) →

JDCentral

JD CENTRAL - Online Shopping (Free, Google Play) →

Utility – แอปพลิเคชันอรรถประโยชน์

CamScanner

CamScanner - Scanner to scan PDF (Free, Google Play) →

เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชั่นที่ช่วยชีวิตมาก ๆ ในหลาย ๆ สถานการณ์ที่ต้องส่งเอกสารออนไลน์เพื่อสมัครสมาชิกอะไรซักอย่าง อีกทั้งสมัยนี้น้อยคนที่จะมีปริ้นเตอร์เป็นของตัวเอง ทำให้การสแกนเอกสารนั้นกลายเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ Camscanner เป็นแอปที่สามารถถ่ายรูปเอกสารไม่ว่าจะเป็นบัตรชาชน หรือทะเบียนบ้าน แล้วตัวโปรแกรมจะทำการครอปรูปแล้วแต่งรูปให้เป็นแบบหน้ากระดาษอัตโนมัติสามารถส่งเป็น PDF ได้เลย

Gboard

Gboard - แป้นพิมพ์ของ Google (Free, Google Play) →

แอปคีย์บอร์ดที่มาพร้อมฟีเจอร์สะดวก ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ด้วยการลากไปตามลำดับตัวอักษรที่ต้องการบนคีย์บอร์ด ไปจนถึงภาษาที่มีให้เลือกมากมาย แถมยังสามารถปรับแต่งตีมสีคีย์บอร์ด และภาษาของได้ตามความต้องการได้อีกด้วย

Financial and Online Banking – การเงิน และธนาคารออนไลน์

ในยุคที่ตอนนี้สังคมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ช่องทางการจ่ายเงินผ่านระบบดิจิทัลกันมากขึ้น ทำให้ธนาคารเริ่มเปิดตัวแอปพลิเคชั่นทำธุรกรรมออนไลน์กันมากขึ้นเรื่อย ๆ มาพร้อมฟีเจอร์ที่แตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่เปิดบัญชีธนาคารไหนไว้ก็สามารถโหลดแอปตามธนาคารที่ตนเองใช้ได้เลยครับ

KPlus

K PLUS (Free, Google Play) →

KrungThai Next

Krungthai NEXT (Free, Google Play) →

SCB EASY

SCB EASY (Free, Google Play) →

Bualuang mBanking

Bualuang mBanking (Free, Google Play) →

Krungsri Mobile Application (KMA)

KMA (Free, Google Play) →

Thanachat

Thanachart Connect (Free, Google Play) →

TMB Touch

TMB Touch (Free, Google Play) →

Truemoney

TrueMoney Wallet (Free, Google Play) →

ไม่ใช้แอปธนาคารที่ไหน แต่เป็นแอปกระเป๋าตังออนไลน์ยอดนิยมกับฟีเจอร์มากมายสามารถจ่ายได้หลายที่ไม่ว่าจะเป็น 7-Eleven หรือร้านอาหารต่าง ๆ ที่ร่วมรายการแถมยังสามารถเอาไว้ใช้ซื้อของออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย

Maps & Navigation – แผนที่ และการนำทาง

Google Maps

Maps - Navigate & Explore (Free, Google Play) →

เป็นเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้วว่าตอนนี้ Google Maps ถือว่าเป็นแอปพลิเคชั่นนำทาง/แผนที่ ที่ครบครันที่สุด เพราะเต็มไปด้วยฟีเจอร์อำนวยความสะดวกมากมายไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ Explore ที่ช่วยให้สามารถหาสถานที่น่าสนใจใกล้เคียงเช่นร้านอาหาร หรือที่เที่ยวต่าง ๆ แถมยังมีระบบ ETA ที่แม่นยำ สามารถคำนวนความแน่นหนาของจราจร ทำให้สามารถรู้เวลาการเดินทางได้อีกด้วย ถือว่าเป็นแอปคู่ใจคนขับรถ และคนรักการเดินทางจริง ๆ ครับ

Food Delivery and Transportation – แอปสั่งอาหาร และรถโดยสาร

หลังจากที่ได้มีการระบาดของโรค COVID-19 ขึ้น แอปพลิเคชั่น และบริการจำพวก Food Aggregator ก็ได้กลับมามีบทบาทสำคัญ และเปลี่ยนพฤติกรรมของการสั่งอาหารของคนเราเป็นอย่างมาก ซึ่งตอนนี้ก็มีหลากหลายแอปพลิเคชั่นส่งอาหารให้เราได้เลือกใช้ ต่างกันตรงที่แต่ละแอปก็มาพร้อมโปรโมชั่นกับราคาค่าส่งที่ไม่เหมือนกัน เพราะงั้นจะเลือกแอปพลิเคชั่นไหนก็ตามสะดวกเลย แต่ส่วนตัวคิดว่ามีติดไว้ทุกแอปเอาไว้เปรียบเทียบราคาเวลาจะสั่งอาหารน่าจะเหมาะที่สุดครับ

Grab

Grab - Transport, Food Delivery, Payments (Free, Google Play) →

ถือว่าเป็นแอปที่เริ่มตีตลาดมาจากการหารถโดยสารซะมากกว่ากับ Grab ซึ่งมาพร้อมบริการที่ครบครันไม่ว่าจะเป็นรถรับส่ง Taxi ไปจนถึงมอเตอร์ไซค์รับจ้างอย่าง Grabbike อีกทั้งหลัง ๆ มานี้ยังมีบริการช่วยขับรถ, ส่งของ, สั่งอาหาร และอื่น ๆ อีกมากมายที่เข้ามาทำให้ชีวิตคนเมืองสะดวกยิ่งขึ้นมาก ๆ

Food Panda

foodpanda - Local Food & Grocery Delivery (Free, Google Play) →

แอปสีชมพูที่น่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดีอย่าง FoodPanda ที่โฟกัสฟีเจอร์หลัก ๆ ไปที่การสั่งอาหารเป็นหลัก มาพร้อมค่าส่งที่ถูกมาก ๆ ทำให้ถูกใจสายกินทั้งหลาย แถมยังมีร้านอาหารมากมายให้เราได้เลือกกินกันอย่างจุใจ อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นส่วนลดค่าอาหารมาให้เราได้เห็นกันบ่อย ๆ อีกด้วย

1112 Delivery

1112 Delivery (Free, Google Play) →

แอปสั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวมาไม่นานมานี้กับ 1112 Delivery ที่ได้นำเอาร้านอาหารชื่อดังจากเครือ Minor มารวมอยู่ในแอปพลิเคชั่นเดียวไม่ว่าจะเป็น The Pizza Company, Sizzler, Bonchon และอื่น ๆ อีกมากมาย

Gojek

Gojek - Ojek Taxi Booking, Delivery and Payment (Free, Google Play) →

แอปสั่งอาหารน้องใหม่ทีโดยรีแบรนด์จาก GET มีดีกรีเป็นถึง Super Application ยอดนิยมจากประเทศอินโดนเนเซีย มาพร้อมฟีเจอร์การสั่งอาหาร และขนส่งที่ครบครันไม่คล้าย ๆ กับของ Grab อีกด้วย

Lineman

LINE MAN - Food Delivery, Taxi, Messenger, Parcel (To be announced, Google Play) →

สำหรับใครที่เพิ่งซื้อมือถือมาใหม่ หรืออ่า

31/12/2020 10:55 PM