แกะเครื่อง MacBook Air 2020 ยังคงไม่มี “ฮีทไปป์” ลากผ่านซีพียูไปที่พัดลม เพื่อช่วยระบายความร้อน - Android

Get it on Google Play

แกะเครื่อง MacBook Air 2020 ยังคงไม่มี “ฮีทไปป์” ลากผ่านซีพียูไปที่พัดลม เพื่อช่วยระบายความร้อน - Android

ถ้าเพื่อนๆ จำกันได้ก่อนหน้านี้ตัว MacBook Air 2019 เคยมีประเด็นเรื่องตัวเครื่องไม่มี “ฮีทไปป์” มาแล้ว ซึ่งหากเรานำมาใช้งานหนักๆ ซีพียูจะมีความร้อนมากกว่าเกินไปจนระบายไม่ทัน ใช้งานไปสปีดตกหรือเกิดอาการ Thermal Throttling จนทำให้หลายคนรู้สึกหงุดหงิดเป็นอย่างมาก และล่าสุดทีมงานก็ได้สั่งซื้อ MacBook Air 2020 มาลองแกะเครื่องดูก็พบว่าไม่มี “ฮีทไปป์” เช่นเดียวกับรุ่นเดิม (คลิป Unbox + แกะเครื่อง MacBook Air 2020 ครับ) (รูป […]

ถ้าเพื่อนๆ จำกันได้ก่อนหน้านี้ตัว MacBook Air 2019 เคยมีประเด็นเรื่องตัวเครื่องไม่มี “ฮีทไปป์” มาแล้ว ซึ่งหากเรานำมาใช้งานหนักๆ ซีพียูจะมีความร้อนมากกว่าเกินไปจนระบายไม่ทัน ใช้งานไปสปีดตกหรือเกิดอาการ Thermal Throttling จนทำให้หลายคนรู้สึกหงุดหงิดเป็นอย่างมาก และล่าสุดทีมงานก็ได้สั่งซื้อ MacBook Air 2020 มาลองแกะเครื่องดูก็พบว่าไม่มี “ฮีทไปป์” เช่นเดียวกับรุ่นเดิม

(คลิป Unbox + แกะเครื่อง MacBook Air 2020 ครับ)

(รูป MacBook Air 2018 จาก ifixit)

จากรูปจะเห็นได้ว่าบอดี้ด้านในของ MacBook Air ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมาจะไม่มี “ฮีทไปป์” เลย ใช้ระบบระบายความร้อนเป็นพัดลมหนึ่งตัว + ฮีทซิงค์ที่แปะไว้บนซีพียูเท่านั้น การจัดวาง Layout เหมือนกันเป๊ะๆ ซึ่งหากดูจากรูปจะเห็นสิ่งที่ต่างจากเดิมคือ ฮีทซิงค์ซีพียูปี 2020 จะใหญ่กว่าคนอื่นเพราะเปลี่ยนซีพียูเป็นรุ่นใหม่นั่นเอง

(ด้านซ้ายคือซีพียู MacBook Air ปี 2018-2019, ด้านขวาคือซีพียู MacBook Air ปี 2020)

เมื่อมาดูทางด้านซีพียูกันบ้างจะเห็นได้เลยว่าแตกต่างจากรุ่นเดิมเยอะเหมือนกัน เปลี่ยนจาก Gen 8 ไป Gen 10 ทำให้ขนาดสถาปัตยกรรมเล็กลงจาก 14nm เป็น 10nm พร้อมเพิ่มจำนวนทั้ง Core กับ Thread ให้มากขึ้น และมีค่า TDP เพิ่มสูงขึ้นด้วย จาก 7W เป็น 10W

(ภาพ Surface Laptop 3 จาก iFixit)

ที่นี้ลองมาเปรียบเทียบภายในระหว่าง MacBook Air 2020 กับ Surface Laptop 3 กันบ้างที่ใช้ซีพียูเป็น Intel Core i5 Gen 10 เหมือนกัน สังเกตว่ารูปทางขวามี “ฮีทไปป์” มาให้ถึง 2 เส้นขนาดใหญ่ ลากผ่านฮาร์ดแวร์หลายชิ้นส่วนเพื่อช่วยระบายความร้อน

ถัดมาดูความแตกต่างระหว่างซีพียูสองรุ่นนี้กันบ้าง หลักๆ แล้วคือ ค่า TDP ที่ซีพียู i5-1035G7 ของ Surface Laptop 3 จะมีมากกว่า โดยมีค่า TDP อยู่ที่ 15W ส่วนของ MacBook Air 2020 ที่ใช้เป็น i5-1030NG7 จะมีค่า TDP เพียง 10W ทำให้เรื่องการคายความร้อนออกมาต่างกันพอสมควร และนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม MacBook Air 2020 ถึงไม่ใส่  “ฮีทไปป์” มาให้

อย่างไรก็ตามส่วนตัวรู้สึกเสียดายที่ทาง Apple ไม่ยอมใส่ “ฮีทไปป์” มาให้สักที แม้ว่าจะมีผู้ใช้งานบ่นมาตั้งแต่ปี 2018 เรื่องซีพียูมีอาการ Thermal Throttling (ความเร็วซีพียูตกเมื่อร้อนเกินไป) โดยทีมงานลองทดสอบใช้งานเบื้องต้นพัดลมแทบจะวิ่งเต็มที่ตลอดเวลา แม้ CPU Usage จะวิ่งไม่ถึง 50% ก็ตาม

แต่ก็ยังดีที่ MacBook Air 2020 รุ่นใหม่นี้เพิ่มขนาด SSD รุ่นเริ่มต้นจากเดิม 128GB เป็น 256GB แทน ซึ่งเพียงพอกับการใช้งานในสมัยนี้อยู่ บวกกับตัวเครื่องใช้ Magic Keyboard ที่เปลี่ยนมาใหม่ ซึ่งใช้งานดีขึ้นกว่าเดิมแบบรู้สึกได้ พิมพ์มันมือมากขึ้นๆ จริงๆ และหากใครจะซื้อ MacBook Air 2020 นี้แนะนำว่าควรซื้อรุ่นที่ใช้ซีพียู i5 ขึ้นไป เพราะตัว i3 ยังคงเป็น 2 Core/4 Thread แบบเก่ารุ่นเก่าอยู่นั่นเองครับ

ตอนนี้ทาง Droidsans มีเพจ คอมคร้าบ แยกออกมาเป็นเรื่องคอมโดยเฉพาะ ทั้ง FaceBook และ YouTube ฝากได้กด Like กด Subscribe กันด้วยนะครับผม

Facebook : https://www.facebook.com/comcraft.ds
YouTube : https://www.youtube.com/c/comcraftds

29/04/2020 08:14 AM