ด้วยความที่ 5G ใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว เลยจะขอมาเขียนเล่าเรื่องที่เกี่ยวข้องเท่าที่ได้ศึกษา และพูดคุยกับเหล่าวิศวกรคนทำงานด้านเครือข่าย มาให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันนะครับ โดยในตอนนี้ก็จะมาสรุปเรื่องคลื่นย่านต่ำ ย่านกลาง ย่านความถี่สูง ว่ามันต่างกันยังไง แต่และย่านใช้งานแบบไหน รวมถึงคลื่นความถี่แต่ละ Band เวลาเอาไปเขียนเป็น “n” ในสเปคของอุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเลต โน๊ตบุ๊ค หรือ IoT ต่างๆ มันคือคลื่นอะไรบ้างครับ
เวลาที่เราอ่านสเปคของอุปกรณ์ต่างๆ เราจะได้เห็นว่าคลื่นที่รองรับจะไม่ได้เขียนว่าเป็นคลื่น 2600/3500 MHz หรือ 26 GHz แต่จะเป็นการเลือกใช้ตัวอักษร n ตามด้วยตัวเลขแทน เช่น n7 / n28 โดยแต่ละเลขก็จะแทนความถี่ที่ต่างกันออกไป และไม่ได้เรียงตามความถี่อีกด้วย มันก็จะพางงกันว่าแต่ละ n มันคือคลื่นอะไรกันแน่ ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถดูสรุปได้ในตารางเดียวนี้เลยครับ
Band | MHz | Duplex mode | Uplink (MHz) | Downlink (MHz) |
n1 | 2100 | FDD | 1920 – 1980 | 2110 – 2170 |
n2 | 1900 | FDD | 1850 – 1910 | 1930 – 1990 |
n3 | 1800 | FDD | 1710 – 1785 | 1805 – 1880 |
n5 | 850 | FDD | 824 – 849 | 869 – 894 |
n7 | 2600 | FDD | 2500 – 2570 | 2620 – 2690 |
n8 | 900 | FDD | 880 – 915 | 925 – 960 |
n12 | 700 | FDD | 699 – 716 | 729 – 746 |
n14 | 700 | FDD | 788 – 798 | 758 – 768 |
n18 | 850 | FDD | 815 – 830 | 860 – 875 |
n20 | 800 | FDD | 832 – 862 | 791 – 821 |
n25 | 1900 | FDD | 1850 – 1915 | 1930 – 1995 |
n28 | 700 | FDD | 703 – 748 | 758 – 803 |
n29 | 700 | SDL | N/A | 717 – 728 |
n30 | 2300 | FDD | 2305 – 2315 | 2350 – 2360 |
n34 | 2100 | TDD | 2010 – 2025 | |
n38 | 2600 | TDD | 2570 – 2620 | |
n39 | 1900 | TDD | 1880 – 1920 | |
n40 | 2300 | TDD | 2300 – 2400 | |
n41 | 2500 | TDD | 2496 – 2690 | |
n48 | 3500 | TDD | 3550 – 3700 | |
n50 | 1500 | TDD | 1432 – 1517 | |
n51 | 1500 | TDD | 1427 – 1432 | |
n65 | 2100 | FDD | 1920 – 2010 | 2110 – 2200 |
n66 | 1700 | FDD | 1710 – 1780 | 2110 – 2200 |
n70 | 2000 | FDD | 1695 – 1710 | 1995 – 2020 |
n71 | 600 | FDD | 663 – 698 | 617 – 652 |
n74 | 1500 | FDD | 1427 – 1470 | 1475 – 1518 |
n75 | 1500 | SDL | N/A | 1432 – 1517 |
n76 | 1500 | SDL | N/A | 1427 – 1432 |
n77 | 3700 | TDD | 3300 – 4200 | |
n78 | 3500 | TDD | 3300 – 3800 | |
n79 | 4700 | TDD | 4400 – 5000 | |
n80 | 1800 | SUL | 1710 – 1785 | N/A |
n81 | 900 | SUL | 880 – 915 | N/A |
n82 | 800 | SUL | 832 – 862 | N/A |
n83 | 700 | SUL | 703 – 748 | N/A |
n84 | 2100 | SUL | 1920 – 1980 | N/A |
n86 | 1700 | SUL | 1710 – 1780 | N/A |
n89 | 850 | SUL | 824 – 849 | N/A |
n90 | 2500 | TDD | 2496 – 2690 | |
n91 | 800 1500 | FDD | 832 – 862 | 1427 – 1432 |
n92 | 800 1500 | FDD | 832 – 862 | 1432 – 1517 |
n93 | 900 1500 | FDD | 880 – 915 | 1427 – 1432 |
n94 | 900 1500 | FDD | 880 – 915 | 1432 – 1517 |
n95 | 2100 | SUL | 2010 – 2025 | N/A |
ย่านความถี่ High Band หรือ mmWave
Band | GHz | Uplink /Downlink (GHz) |
n257 | 28 | 26.50 – 29.50 |
n258 | 26 | 24.25 – 27.50 |
n260 | 39 | 37.00 – 40.00 |
n261 | 28 | 27.50 – 28.35 |
หมายเหตุ ช่องทำการไฮไลท์สีเขียวไว้คือ Band ที่รองรับในประเทศไทย
(อ้างอิง Wikipedia : 5G NR frequency bands)
ส่วนว่าประเทศไทยมี Band ไหนใช้แล้วและกำลังจะมาในอนาคตบ้าง ซื้อมือถือเครื่องใหม่จะได้ดูที่รองรับให้หมด เดี๋ยวเอามาบอกให้อีกทีนะครับ
คลื่นความถี่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการให้บริการเครือข่าย โดยคลื่นที่จำนำมาใช้ใน 5G ก็จะมีช่วงที่กว้างขึ้นกว่ายุค 3G ที่มีเพียงไม่กี่คลื่น และ 4G ที่จะใช้ความถี่ต่ำกว่า 3600 MHz เป็นหลักแต่เมื่อถึงยุค 5G คลื่นความถี่จะเปิดให้ใช้กันขึ้นไปถึงหลัก GHz ซึ่งหมายถึงช่องสัญญาณที่กว้างและใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก โดยเราสามารถแบ่งคลื่นความถี่ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ คลื่นความถี่ย่านต่ำ ย่านกลาง และย่านสูง แต่ละย่านมีความแตกต่าง และคาแรคเตอร์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถสรุปมาให้แบบสั้นๆ ได้ประมาณนี้นะครับ
ศัพท์น่ารู้ คลื่นย่านต่ำ และกลาง เป็นคลื่นที่ใช้กันมาตั้งแต่ 3G และ 4G จะมีชื่อเรียกว่า Sub-6 ส่วนคลื่นย่านสูงที่เป็นคลื่นใหม่นี้จะมีชื่อเรียกว่า mmWave หรือ Millimetre Wave
ตารางสรุปลักษณะคลื่นความถี่แต่ละย่านคลื่นความถี่ | ระยะสัญญาณ | ปริมาณคลื่น | ความเร็ว | ราคา | ||
Sub-6 | Low Band | 600 – 900 MHz | ~3x | 10 – 100 MHz | 0.1x – 1x | แพงมาก |
Mid Band | 1700 – 3500 MHz | 1x | 100 – 600 MHz | 1x – 6x | กลาง | |
mmWave | High Band | >24GHz | >0.5x | >1GHz | 10x | เหมาะสม |
ลักษณะของคลื่นความถี่ต่างๆตั้งแต่ Low – Mid – High
เปรียบเทียบระยะทำการของสัญญาณแต่ละความถี่ จะเห็นได้ว่าคลื่น Low Band ไปได้ไกลกว่ามาก
ตัวอย่างการนำคลื่น Low – Mid – High Band ไปใช้งาน ซึ่งบ้านเรามีการลงคลื่น Mid Band กันเยอะมากจน เกือบทดแทนและสร้างความครอบคลุมหลักแทน Low Band ได้เลย
ทั้งหมดนี้ก็น่าจะครอบคลุมเนื้อหาของทั้งสองหัวข้อนี้ ถ้าเพื่อนๆคนไหนอยากจะเสริมอะไร สามารถมาคอมเม้นท์เพิ่มเติม พูดคุยกันได้นะครับ ส่วนตอนหน้าจะเอาอะไรมาเล่ากันต่อ รอติดตามกันได้เลยครับ
14/03/2020 01:27 PM
2014 © ปพลิเคชันไทย