ถอดบทเรียนสิงคโปร์ สร้างระบบติดตามตัวขั้นสุด ลดปัญหาการแพร่ระบาด Covid – 19 - Android

Get it on Google Play

ถอดบทเรียนสิงคโปร์ สร้างระบบติดตามตัวขั้นสุด ลดปัญหาการแพร่ระบาด Covid – 19 - Android

สิงคโปร์ถือเป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีประเทศหนึ่งในแถบเอเชีย และยังเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค Covid โดยปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อรวมอยู่ที่ 58,697 คน และมีอัตราการระบาดในแต่ละวันเพิ่มขึ้นจำนวนประมาณ 10 – 20 คน ในช่วงแรกของการแก้ไขปัญหา ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษมากครับ สิงคโปร์ใช้มาตรการล๊อกดาวน์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ เพื่อลดการสัมผัส ลดการแออัด แต่ก็ยังพบผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นอยู่ ทำให้พวกเขาเริ่มหันไปมองการใช้เทคโนโลยีในการติดตามตัวผ่านโทรศัพท์มือถือ พออ่านครั้งแรก ก็….เอ จะเหมือนไทยชนะของไทยหรือเปล่าหว่า เพราะไม่ได้รู้สึกว่ามันช่วยอะไรเราได้เลย ข้อมูลต่าง ๆ ถูกเก็บอยู่ที่รัฐบาล ประชาชนไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ จนกว่าจะมีเคสเกิดขึ้น และตอนนั้นอาจจะสายไป .. แต่พอไล่อ่านไปเรื่อย ๆ สิ่งที่สิงคโปร์ทำนั้นเจ๋งดีเหมือนกัน .. เค้าใช้แอปติดตามตัวเหมือนกับเราเนี่ยแหละ แต่ความเจ๋งคือมันเป็นระบบอัตโนมัติ โดยจะให้ประชาชนโหลดแอปชื่อ Tracetogether มาใช้งาน จากนั้นแค่เปิด Bluetooth และให้แอปทำงานอยู่เบื้องหลังของเครื่อง ตัวแอปจะทำงานโดยตรวจหาสัญญาณ Bluetooth ของโทรศัพท์ใกล้เคียง ว่าเราไปคุยพูดกับใครมาหรือใกล้ชิดกับใครบ้าง ความกว้างของสัญญาณก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 10 – 20 เมตร ครับ จากนั้นจะเก็บข้อมูลไว้ในโทรศัพท์ประมาณ 20 […]

The post ถอดบทเรียนสิงคโปร์ สร้างระบบติดตามตัวขั้นสุด ลดปัญหาการแพร่ระบาด Covid – 19 appeared first on techhub.

สิงคโปร์ถือเป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีประเทศหนึ่งในแถบเอเชีย และยังเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค Covid โดยปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อรวมอยู่ที่ 58,697 คน และมีอัตราการระบาดในแต่ละวันเพิ่มขึ้นจำนวนประมาณ 10 – 20 คน
ในช่วงแรกของการแก้ไขปัญหา ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษมากครับ สิงคโปร์ใช้มาตรการล๊อกดาวน์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ เพื่อลดการสัมผัส ลดการแออัด แต่ก็ยังพบผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นอยู่ ทำให้พวกเขาเริ่มหันไปมองการใช้เทคโนโลยีในการติดตามตัวผ่านโทรศัพท์มือถือ
พออ่านครั้งแรก ก็….เอ จะเหมือนไทยชนะของไทยหรือเปล่าหว่า เพราะไม่ได้รู้สึกว่ามันช่วยอะไรเราได้เลย ข้อมูลต่าง ๆ ถูกเก็บอยู่ที่รัฐบาล ประชาชนไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ จนกว่าจะมีเคสเกิดขึ้น และตอนนั้นอาจจะสายไป ..
แต่พอไล่อ่านไปเรื่อย ๆ สิ่งที่สิงคโปร์ทำนั้นเจ๋งดีเหมือนกัน .. เค้าใช้แอปติดตามตัวเหมือนกับเราเนี่ยแหละ แต่ความเจ๋งคือมันเป็นระบบอัตโนมัติ โดยจะให้ประชาชนโหลดแอปชื่อ Tracetogether มาใช้งาน จากนั้นแค่เปิด Bluetooth และให้แอปทำงานอยู่เบื้องหลังของเครื่อง
ตัวแอปจะทำงานโดยตรวจหาสัญญาณ Bluetooth ของโทรศัพท์ใกล้เคียง ว่าเราไปคุยพูดกับใครมาหรือใกล้ชิดกับใครบ้าง ความกว้างของสัญญาณก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 10 – 20 เมตร ครับ จากนั้นจะเก็บข้อมูลไว้ในโทรศัพท์ประมาณ 20 วัน ก่อนจะถูกลบออกอัตโนัมัติ
หากพบผู้ติดเชื้อ จะมีมาตรการในการส่งข้อมูลของผู้ติดเชื้อไปยัง หน่วยงานสาธารณสุขของสิงคโปร์และแจ้งเตือนผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อให้มารับการตรวจครับ โดยใช้ระยะเวลารวมไม่ถึง 1 วัน
แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกใช้มือถือเปิดแอป เขาก็มี Token เป็นอุปกรณ์ติดตัวสำหรับปล่อยสัญญาณ Bluetooth สามารถรับได้ฟรีโดยการยืนยันตัวผ่านเลขบัตรประชาชน แต่หากมีการระบาดขึ้น การที่รัฐบาลจะแจ้งแก่ประชาชนที่ใช้ Token น่าจะเป็นการแจ้งผ่านศูนย์กลางของชุมชนในแต่ละแห่ง เพื่อบอกต่อกันครับ
Tracetogether มีข้อเสียแค่อาจต้องเปิดระบบ Bluetooth ไว้ตลอดเวลา และอาจต้องพกมือถือติดตัว (แต่คิดว่าทุกวันนี้ คงไม่มีใครไม่พก Smart phone แล้วล่ะ)
ในเรื่องความเป็นส่วนตัว แอป Tracetogether จะไม่เก็บข้อส่วนตัวใด ๆ ของผู้ใช้งาน เพราะไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้ Internet แต่พึ่งพาการใช้ Bluetooth เพื่อ Tracking สัญญาณใกล้เคียง และจะส่งข้อมูลดังกล่าว เมื่อมีการตรวจพบเชื้อเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อยกเว้นทางกฏหมาย
ความรู้สึกตอนนี้ ก็ได้แต่ชื่นชมว่าเขามีวิธีแก้ปัญหาที่ดีและใส่ใจประชาชนอย่างจริงจรังนะ แต่สำหรับประเทศไทย อย่าพึ่งได้น้อยใจไปครับ แม้รัฐบาลจะทำเหมือนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ แต่เรายังพึ่งพาแอปเจ๋ง ๆ เพื่อติดตามผู้ติดเชื้อในประเทศได้อยู่ ซึ่งตอนนี้คนก็นิยมใช้กันมากครับ นั่นคือ AWAYCOVID19 จัดทำโดย Mapedia สามารถใช้ผ่านไลน์ได้ คลิกที่นี่ครับ https://line.me/R/ti/p/%40960rjpie
แหล่งข้อมูลจาก https://www.tracetogether.gov.sg/
https://www.zdnet.com/article/singapore-police-can-access-covid-19-contact-tracing-data-for-criminal-investigations/

The post ถอดบทเรียนสิงคโปร์ สร้างระบบติดตามตัวขั้นสุด ลดปัญหาการแพร่ระบาด Covid – 19 appeared first on techhub.

05/01/2021 06:25 AM