หลังจากที่แพลตฟอร์มบริการออนไลน์ต่างๆ จากต่างประเทศเริ่มเข้ามาทำตลาดในบ้านเราจนมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น และมีมูลค่ามหาศาล ทำให้ทางที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวกลางที่ให้บริการทางจากต่างประเทศ (e-Service) เช่น ดาวน์โหลดหนัง เพลง เกม จองโรงแรม ซื้อสินค้าหรือให้บริการ โดยคาดว่าจะเก็บเงินได้เพิ่มปีละ 3,000 ล้านบาท
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก หรือรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. นี้ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เนื่องจากปัจจุบันคนไทยมีการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมากขึ้น จากการใช้งานผ่านแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดหนัง เพลง เกม การจองโรงแรม ส่งผลให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศมีรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่กรมสรรพากรไม่สามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการในไทยและต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มให้เหมาะสมกับรูปแบบการประกอบธุรกิจ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์และการจำกัดความใหม่ หลักๆ ที่เพิ่มมามีดังนี้
(เนื้อหา พ.ร.บ. ฉบับเต็ม : http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/Vatforeign_140163.pdf)
สำหรับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ล่าสุดได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(สคก.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปคือส่งร่างให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในลำดับถัดไป รวมถึงกรมสรรพากรเตรียมจะจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายฉบับนี้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายให้แก่ผู้ประกอบอีกด้วย โดยประเทศไทยเองก็ไม่ใช่ประเทศแรกที่มีกฎหมายเก็บภาษีในลักษณะนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีประเทศออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และอื่นๆ ที่ก็ใช้กฎหมายลักษณะนี้ ที่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว
ส่วนตัวเห็นแบบนี้แล้วก็พอเข้าใจได้นะที่รัฐบาลต้องเก็บภาษีเพิ่ม เพื่อความเท่าเทียมและเม็ดเงินตรงนี้ก็มีมูลค่าที่สูงอยู่ ซึ่งหลายๆ ประเทศก็มีการเก็บภาษีตรงนี้เหมือนกัน และหากเข้ากระบวนการเก็บภาษีจริงๆ ราคาค่าบริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ จะเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร ยังไงก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ
ที่มา : mgronline, rd
10/06/2020 08:10 AM
2014 © ปพลิเคชันไทย