ข้อมูลล่าสุดจาก Kaspersky ยืนยัน ผู้ใช้ออนไลน์ใน APAC มีบัญชีโซเชียลที่ไม่ระบุตัวตน ใช้ตรวจสอบโปรไฟล์โซเชียลมีเดียของธุรกิจก่อนซื้อ - Android

Get it on Google Play

ข้อมูลล่าสุดจาก Kaspersky ยืนยัน ผู้ใช้ออนไลน์ใน APAC มีบัญชีโซเชียลที่ไม่ระบุตัวตน ใช้ตรวจสอบโปรไฟล์โซเชียลมีเดียของธุรกิจก่อนซื้อ - Android

คุณมีบัญชีออนไลน์นิรนามหรือไม่ ผลสำรวจล่าสุดที่จัดทำโดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกยืนยันว่าคุณไม่ได้มีบัญชีนิรนามคนเดียว ผู้ใช้ออนไลน์จำนวนมากกว่า 3 ใน 10 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ยอมรับว่ามีโปรไฟล์โซเชียลมีเดียโดยไม่ใช้ชื่อจริง ภาพถ่ายจริง หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information หรือ PII) งานวิจัย “Digital Reputation” จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,240 คนจากภูมิภาคนี้ แสดงให้เห็นว่าอำนาจของการไม่เปิดเผยตัวตนถูกใช้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 35% ตามด้วยเอเชียใต้ 28% และออสเตรเลียที่ 20% แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ออนไลน์ต้องการรักษาตัวตนมากที่สุดคือ Facebook (70%), YouTube (37%), Instagram (33%) และ Twitter (25%) ความรู้สึกแวบแรกเรื่องการใช้ “โปรไฟล์ไร้ชื่อและไร้ใบหน้า” นั้นมีสองแง่มุม ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า ข้อมูลนิรนามทำให้ผู้ใช้ออนไลน์แต่ละคนสามารถไขว่คว้าสิ่งต่างๆ ตามความสนใจของตน รวมถึงการพูดและแสดงความคิดเห็นอย่างได้เสรี แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำกิจกรรมที่มุ่งร้ายและเป็นอันตรายได้เช่นกัน ผู้เข้าสำรวจเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ระบุว่ามีบัญชีที่ไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อใช้เสรีภาพในการพูด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ในขณะที่ 48% ต้องการที่จะดื่มด่ำกับสิ่งที่ชอบอย่างลับๆ […]

The post ข้อมูลล่าสุดจาก Kaspersky ยืนยัน ผู้ใช้ออนไลน์ใน APAC มีบัญชีโซเชียลที่ไม่ระบุตัวตน ใช้ตรวจสอบโปรไฟล์โซเชียลมีเดียของธุรกิจก่อนซื้อ appeared first on techhub.

คุณมีบัญชีออนไลน์นิรนามหรือไม่ ผลสำรวจล่าสุดที่จัดทำโดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกยืนยันว่าคุณไม่ได้มีบัญชีนิรนามคนเดียว

ผู้ใช้ออนไลน์จำนวนมากกว่า 3 ใน 10 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ยอมรับว่ามีโปรไฟล์โซเชียลมีเดียโดยไม่ใช้ชื่อจริง ภาพถ่ายจริง หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information หรือ PII) งานวิจัย “Digital Reputation” จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,240 คนจากภูมิภาคนี้ แสดงให้เห็นว่าอำนาจของการไม่เปิดเผยตัวตนถูกใช้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ 35% ตามด้วยเอเชียใต้ 28% และออสเตรเลียที่ 20%

แพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ออนไลน์ต้องการรักษาตัวตนมากที่สุดคือ Facebook (70%), YouTube (37%), Instagram (33%) และ Twitter (25%)

ความรู้สึกแวบแรกเรื่องการใช้ “โปรไฟล์ไร้ชื่อและไร้ใบหน้า” นั้นมีสองแง่มุม ผลการสำรวจเผยให้เห็นว่า ข้อมูลนิรนามทำให้ผู้ใช้ออนไลน์แต่ละคนสามารถไขว่คว้าสิ่งต่างๆ ตามความสนใจของตน รวมถึงการพูดและแสดงความคิดเห็นอย่างได้เสรี แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทำกิจกรรมที่มุ่งร้ายและเป็นอันตรายได้เช่นกัน

ผู้เข้าสำรวจเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ระบุว่ามีบัญชีที่ไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อใช้เสรีภาพในการพูด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ในขณะที่ 48% ต้องการที่จะดื่มด่ำกับสิ่งที่ชอบอย่างลับๆ ที่ไม่อยากให้เพื่อนรู้

ผู้เข้าสำรวจจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ (34%) ยังใช้บัญชีนิรนามเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับใครบางคนหรือข่าวออนไลน์โดยไม่ใช้ตัวตนจริง แม้ว่าผู้ใช้ 30% จะใช้บัญชีโซเชียลมีเดียที่ไม่ระบุชื่อสำหรับกิจกรรมที่ไม่เป็นอันตรายในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับศิลปินที่ชื่นชอบและความสนใจต่างๆ แต่ก็ยังพบว่าผู้ใช้ 22% มีส่วนร่วมในการสะกดรอยทางออนไลน์ด้วย

มีผู้ใช้เพียงส่วนน้อย (3%) ที่ระบุว่าใช้บัญชีไม่ระบุตัวตนเพื่อเบี่ยงเบนอีเมลสแปมจากบัญชีจริง หลีกเลี่ยงการโดนเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหาย (หรือ doxing) รวมถึงการใช้บัญชีนิรนามเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การเล่นเกม และการป้องกันไม่ให้หน่วยงานภายนอกเข้าถึงบัญชีอีเมลจริงของตน

ประเด็นสำคัญของการค้นพบนี้คือผู้บริโภคใน APAC เริ่มตระหนักถึงชื่อเสียงที่สร้างขึ้นทางออนไลน์ และความสำคัญต่อชีวิตจริงของตนมากขึ้น จากพื้นฐานดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ตอบแบบสอบถาม 49% จะตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์หรือบริษัทก่อนที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ

ประเด็นที่น่าสังเกตสำหรับธุรกิจ คือผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนมากกว่าครึ่ง (51%) เน้นย้ำถึงความสำคัญของชื่อเสียงทางออนไลน์ของบริษัท เกือบ 5 ใน 10 คน (48%) ยืนยันว่าตนได้หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีเรื่องอื้อฉาวหรือได้รับข่าวเชิงลบทางออนไลน์

นอกจากนี้ 38% ยังเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทหรือแบรนด์ที่เข้าไปพัวพันกับวิกฤตบางอย่างทางออนไลน์ เกือบครึ่งหนึ่ง (41%) ยังเปิดเผยด้วยว่าชื่อเสียงของผู้รับรองแบรนด์มีผลต่อมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์

เมื่อถามถึงความโปร่งใสของแบรนด์บนเพจออนไลน์ ผู้ใช้ใน APAC จำนวน 50% คิดว่าบริษัทต่างๆ ไม่ควรลบความคิดเห็นเชิงลบในบัญชีโซเชียลมีเดียของบริษัท

นายโยว เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า จากจุดประสงค์แรกเริ่มในการค้นหาและเชื่อมต่อกับเพื่อนและครอบครัว โซเชียลมีเดียมีการพัฒนาและจะพัฒนาต่อไปในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการเข้าสังคมและระบุตัวตนซึ่งกันและกัน แต่ตอนนี้เรามาถึงจุดแยกบนถนนที่มีการใช้โปรไฟล์เสมือนของทั้งบุคคลและบริษัทเป็นตัวแปรในการตัดสิน”

นายโยวกล่าวเสริมว่า “การสำรวจล่าสุดของเรายืนยันว่า ปัจจุบันผู้บริโภคเชื่อมั่นบริษัทต่างๆ โดยยึดจากชื่อเสียงทางออนไลน์ เหมือนกับที่พฤติกรรมของบุคคลบนโซเชียลมีเดียถูกนำมาใช้ในการกำหนดคะแนนเครดิต เพื่อคัดกรองความสามารถในการจ้างงาน และการอนุมัติหรือปฏิเสธคำขอวีซ่า จากผลกระทบในโลกแห่งความเป็นจริงเหล่านี้ เราต้องเรียนรู้การปรับสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยเพื่อให้สามารถรักษาชื่อเสียงดิจิทัลที่สำคัญยิ่งขึ้นของเราได้”

เพื่อช่วยผู้บริโภคในการปกป้องชื่อเสียงทางออนไลน์ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำขั้นตอนสำคัญ 5 ขั้นตอนที่เราทุกคนสามารถทำได้เพื่อให้ได้รับการปกป้องและปลอดภัยทางออนไลน์ ดังนี้

  • จำไว้ว่าชื่อเสียงดิจิทัลของคุณเชื่อมโยงกับชื่อเสียงส่วนตัวของคุณด้วย ทุกสิ่งที่โพสต์บนอินเทอร์เน็ตยังคงอยู่บนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการตัดสินที่ก้าวร้าวรุนแรง ซึ่งอาจทำให้คุณต้องไปอธิบายเหตุผลในที่ทำงานหรือระหว่างกระบวนการจ้างงาน
  • เพื่อปกป้องชื่อเสียงดิจิทัล ควรระมัดระวังมากกว่าเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวเอง โดยเฉพาะในโปรไฟล์โซเชียล อย่าเปิดเผยมากเกินไป แบ่งปันเฉพาะข้อมูลพื้นฐานและจำเป็นจริงๆ ยิ่งคุณแชร์มากเท่าไหร่คุณก็ยิ่งดึงดูดผู้โจมตีที่ต้องการขโมยข้อมูลส่วนตัวรวมถึงตัวตนของคุณ
  • ลบบัญชีและข้อมูล – เราทุกคนมีบัญชีออนไลน์หลายสิบบัญชี ซึ่งหลายๆ บัญชีก็แทบไม่ได้ใช้หรือลืมไปแล้ว บัญชีหลายรายการที่ยังคงมีอยู่อาจทำให้ข้อมูลของคุณรั่วไหลได้
  • การป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล – หากแอปขอข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ให้ดูนโยบายความเป็นส่วนตัวซึ่งอาจระบุอย่างเปิดเผยว่าข้อมูลของคุณจะถูกส่งต่อไปยังบริษัทเธิร์ดปาร์ตี้ อย่าให้ข้อมูลแอปมากเกินความจำเป็น ควรคิดอย่างรอบคอบว่าแอปต้องการอะไรและทำอะไรได้บ้างหากไม่มี โปรดจำไว้ว่าข้อมูลใดๆ ที่คุณส่งให้กับแอปไม่น่าจะยังคงเป็นส่วนตัวได้
  • โซลูชั่นรวมของผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยและขั้นตอนปฏิบัติต่างๆ สามารถลดภัยคุกคามและรักษาข้อมูลของคุณให้ปลอดภัยทางออนไลน์ โซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้สำหรับการป้องกันที่ครอบคลุมจากภัยคุกคามที่หลากหลายเช่น Kaspersky Security Cloudและ Kaspersky Internet Security ควบคู่ไปกับการใช้ Kaspersky Password Manager เพื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลที่มีค่าอย่างปลอดภัย สามารถช่วยแก้ปัญหาในการควบคุมการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ

 

เกี่ยวกับการสำรวจ

รายงานแคสเปอร์สกี้เรื่อง “Making sense of our place in the digital reputation economy” ศึกษาทัศนคติของบุคคลในเอเชียแปซิฟิกที่มีต่อการสร้างตัวตนออนไลน์ที่ปลอดภัยและมีชื่อเสียงบนโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ยังพิจารณาด้วยว่าชื่อเสียงทางดิจิทัลของธุรกิจถูกรับรู้เพียงใด

การศึกษานี้จัดทำโดยหน่วยงานวิจัย YouGov ในออสเตรเลีย อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 โดยสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,240 คนในประเทศที่ระบุ ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุตั้งแต่ 18-65 ปี ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย (ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวันในโซเชียลมีเดีย)

จากบทความนี้ เมื่อพฤติกรรมของประชากรในตลาดเป็นข้อมูลทั่วไป จะอ้างอิงถึงกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่สุ่มตัวอย่างไว้ข้างต้น

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้

แคสเปอร์สกี้เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตระดับโลกที่ก่อตั้งในปี 1997 ด้วยความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโซลูชั่นความปลอดภัยยุคใหม่ที่ให้บริการด้านการป้องกันสำหรับธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลและลูกค้าทั่วโลก การให้บริการของแคสเปอร์สกี้ประกอบด้วยการป้องกันคอมพิวเตอร์ รวมถึงโซลูชั่นและบริการด้านการป้องกันความปลอดภัยเฉพาะทางจำนวนมากเพื่อป้องกันภัยคุกคามดิจิทัล ซึ่งแคสเปอร์สกี้ได้ป้องกันความปลอดภัยและปกป้องสิ่งที่สำคัญที่สุดให้แก่ผู้ใช้กว่า 400 ล้านคน และผู้ใช้องค์กรอีกกว่า 250,000 ราย ศึกษาข้อมูลเพี่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

 

The post ข้อมูลล่าสุดจาก Kaspersky ยืนยัน ผู้ใช้ออนไลน์ใน APAC มีบัญชีโซเชียลที่ไม่ระบุตัวตน ใช้ตรวจสอบโปรไฟล์โซเชียลมีเดียของธุรกิจก่อนซื้อ appeared first on techhub.

15/12/2020 05:43 AM