กสทช. ประกาศโรดแมป 5G เตรียมเคาะประมูล ก.พ. 63 และเริ่มใช้ ก.ค. ปีเดียวกัน - Android

Get it on Google Play

กสทช. ประกาศโรดแมป 5G เตรียมเคาะประมูล ก.พ. 63 และเริ่มใช้ ก.ค. ปีเดียวกัน - Android

ในที่สุดคนไทยก็กำลังจะได้ใช้คลื่นความถี่ 5G กันสักที หลักจากที่ กสทช. ได้ประกาศเตรียมจะจัดการประมูลคลื่นในวันที่ 16 ก.พ. 2563 ปีหน้านี้ และหากประมูลเสร็จสิ้นได้ตามกำหนดการ ก็จะสามารถเริ่มใช้ 5G ได้จริงในช่วงกรกฎาคม 2563 ปีเดียวกัน โดยคาดว่าเทคโนโลยี 5G นี่เองจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2563-2573 เฉลี่ยปีละ 5.68% ของ GDP ประเทศ แต่งานนี้เครือข่ายมือถือเตรียมกำเงินรอประมูลกันสนุก สร้างรายได้เข้าคลังอีกเพียบ  700 MHz 1800 MHz […]

ในที่สุดคนไทยก็กำลังจะได้ใช้คลื่นความถี่ 5G กันสักที หลักจากที่ กสทช. ได้ประกาศเตรียมจะจัดการประมูลคลื่นในวันที่ 16 ก.พ. 2563 ปีหน้านี้ และหากประมูลเสร็จสิ้นได้ตามกำหนดการ ก็จะสามารถเริ่มใช้ 5G ได้จริงในช่วงกรกฎาคม 2563 ปีเดียวกัน โดยคาดว่าเทคโนโลยี 5G นี่เองจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2563-2573 เฉลี่ยปีละ 5.68% ของ GDP ประเทศ แต่งานนี้เครือข่ายมือถือเตรียมกำเงินรอประมูลกันสนุก สร้างรายได้เข้าคลังอีกเพียบ

 700 MHz

1800 MHz

2600 MHz

 26 GHZ

คลื่นความถี่ต่อใบอนุญาต2×5 MHz2×5 MHz10 MHz100 MHz
จำนวนใบอนุญาต3 ใบ7 ใบ 19 ใบ27 ใบ
ราคาต่อใบอนุญาต8,792 ล้านบาท12,486 ล้านบาท1,862 ล้านบาท300 ล้านบาท

กำหนดการวันเวลาประมูลคลื่น

  • ต.ค. 62 คณะทำงานเสนอร่างหลักเกณฑ์
  • 13 พ.ย.-12 ธ.ค. รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (30 วัน)
  • 27 ธ.ค. 62 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา
  • 2 ม.ค. 63 ประกาศเชิญชวน
  • 16 ก.พ. 63 ประมูลความถี่
  • มี.ค 63 มอบใบอนุญาต
  • ก.ค. 63 เริ่มให้บริการ

สำหรับคลื่นความถี่ที่นำออกมาประมูลครั้งนี้มีรวมทั้งสิ้น 56 ใบอนุญาต เริ่มต้นที่คลื่น 26 GHz ราคาตั้งอยู่ที่ 300 ล้านบาท ไปจนคลื่นแพงสุด 1800 MHz ราคา 12,486 ล้านบาท โดยทาง กสทช. กำหนดเกณฑ์การประมูลให้จ่ายปีแรก 10% ปีที่ 2-4 จะพักการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต แล้วชำระอีกครั้ง 15% ปีที่ 5-10 ทั้งนี้มีเงื่อนไขคือต้องลงทุนพื้นที่สมาร์ทซิตี้ ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ด้วย พูดง่ายๆ คือช่วยรัฐบาลลงทุนทำโครงการต่างๆ ของรัฐบาลด้วยนั่นเอง

ที่น่าสนใจคือคลื่นความถี่ 5G นี้ นอกจาก 3 เครือข่ายมือถือยักษ์ใหญ่ AIS, Dtac และ True ที่ต้องเข้าประมูลแน่ๆ แล้วยังมี ทีโอที (TOT) และ กสท โทรคมนาคม (CAT) เข้าร่วมประมูลด้วย โดยมีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะเป็นผู้สนับสนุนทั้ง 2 บริษัทนี้ และก็น่าจะทำให้ราคาแกว่งสู้กันพอสมควร

หลังจาก กสทช. ประกาศราคาประมูลแล้ว ก็ได้มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารเครือข่ายทั้ง 3 แห่ง และต่างให้ข้อเสนอแนะ และความเป็นห่วงต่อการจัดประมูลครั้งนี้กันดังนี้

AIS โดยคุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ มีความกังวลเรื่องราคาประมูลที่สุดท้ายอาจจะไปจบสูงเกินไปจนไม่คุ้มที่จะลงทุน หากมีเอกชนรายอื่นเข้ามาป่วนปั่นราคากัน จึงอยากให้มีการค้ำประกันเงินประมูลไว้ก่อน 100%  สำหรับผู้เล่นรายใหม่ เพื่อป้องกันปัญหา และเสนอให้มีการแบ่งเงินจากการประมูลคืนส่วนหนึ่ง แทนที่จะนำส่งคลังทั้งหมด ก็นำกลับมาให้เครือข่ายใช้ในการพัฒนาขยายสัญญาณ ซึ่งจะตอบโจทย์รัฐบาลที่อยากจะทำสมาร์ทซิตี้ หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC เครือข่ายก็จะมีงบประมาณในการลงทุนได้โดยง่าย

True โดยคุณวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ เห็นพ้องกับทาง AIS ที่แสดงความกังวลเรื่องปั่นราคาไม่ต่างกัน

Dtac โดยคุณอเล็กซานดาร์ ไรซ์ ก็อยากให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือโอเปอร์เรเตอร์บ้าง เช่น เวียดนามก็มีการจัดเก็บค่าคลื่นต่ำกว่าปกติในช่วงแรก เพื่อให้เอาเงินไปลงทุนเครือข่ายก่อน ยังไม่ต้องรีบชำระ เมื่อรายได้จากโครงข่าย 5G เริ่มมีดอกมีผลจึงเริ่มจัดเก็บในอัตราก้าวหน้าในปีหลังๆต่อไป

*อธิบายเพิ่มเติม* เรื่องการลงทุนเครือข่าย 5G ในบางประเทศ มีการให้คลื่นเครือข่ายสามารถนำไปใช้ได้ฟรีเลยก็มี โดยมีเหตุผลหลักอยู่ 2 ประการคือ

  1. โมเดลธุรกิจ 5G ยังไม่ชัดเจน หากนำมาให้บริการเหมือน 4G แค่โทรหรือเล่นเน็ต จะไม่ตอบโจทย์การใช้งาน และไม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมได้มากพอ โดย 5G จะเป็นกระดูกสันหลังของเหล่าอุปกรณ์ IoT นั่นเอง แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีความแน่ชัดว่าเครือข่าย 5G จะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้อย่างไร โดยมากจะอยู่ในช่วงของการทดลองความเป็นไปได้อยู่เท่านั้น
  2. ต้องการขึ้นเป็นผู้นำด้านดิจิทัล แม้ว่าโมเดลธุรกิจของ 5G ยังไม่ชัดเจน แต่ทุกฝ่ายต่างมั่นใจว่ามันกำลังจะมาในเร็วๆนี้ ทุกประเทศต่างต้องการให้เครือข่าย 5G เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่นนั่นเอง

ดังนั้นข้อเสนอเรื่องการประมูลไม่ว่าจะคืนเงินเพื่อพัฒนาเครือข่าย หรือจัดเก็บในราคาที่ต่ำ ก็ดูจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้