Review | Sony WI-1000XM2 Noise Canceling เหนือชั้น ระบบเสียงพัฒนาขึ้น และดีไซน์ที่แก้ปัญหาจากรุ่นก่อน - Android

Get it on Google Play

Review | Sony WI-1000XM2 Noise Canceling เหนือชั้น ระบบเสียงพัฒนาขึ้น และดีไซน์ที่แก้ปัญหาจากรุ่นก่อน - Android

หลังจากใช้ชีวิตกับ Sony WI-1000XM2 มาได้สัปดาห์กว่าๆ หลังจาก Unbox กันไป ผมก็พยายามรวบรวมข้อสังเกตต่างๆ และการทดลองใช้งานในหลายลักษณะ แล้วตอนนี้ผมก็พร้อมที่จะรีวิวเจ้าหูฟังใหม่จากโซนี่ตัวนี้แล้วครับ น่าจะพอดีสำหรับใครพักผ่อนปีใหม่อยู่ก็มาอ่านกันได้เลย สเปคของ WI-1000XM2 มาเริ่มด้วยสเปคของตัวหูฟังกันแบบกระชับเลยละกันครับ เป็นระบบเสียงแบบ Hybrid Driver ประกอบด้วย Dynamic driver ขนาด 9 มม. และ Balance Armature 1 ตัว สามารถต่อสาย 3.5 […]

หลังจากใช้ชีวิตกับ Sony WI-1000XM2 มาได้สัปดาห์กว่าๆ หลังจาก Unbox กันไป ผมก็พยายามรวบรวมข้อสังเกตต่างๆ และการทดลองใช้งานในหลายลักษณะ แล้วตอนนี้ผมก็พร้อมที่จะรีวิวเจ้าหูฟังใหม่จากโซนี่ตัวนี้แล้วครับ น่าจะพอดีสำหรับใครพักผ่อนปีใหม่อยู่ก็มาอ่านกันได้เลย

สเปคของ WI-1000XM2

มาเริ่มด้วยสเปคของตัวหูฟังกันแบบกระชับเลยละกันครับ

  • เป็นระบบเสียงแบบ Hybrid Driver ประกอบด้วย Dynamic driver ขนาด 9 มม. และ Balance Armature 1 ตัว
  • สามารถต่อสาย 3.5 mm ได้ทั้งแบบไม่ใช้แบต (ไม่ใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ) และใช้แบต (NC, Ambient Sound, DSEE HX, Assistant)
  • ช่วงความถี่ตอบสนอง
    • Bluetooth, Sampling 44.1 kHz: 20 Hz – 20,000 Hz
    • Bluetooth (LDAC), Sampling 96 kHz: 20 Hz – 40,000 Hz
    • ผ่านสาย 3.5 mm: 3 Hz – 40,000 Hz
  • Bluetooth 5.0, รองรับ codec: SBC, AAC, LDAC ไม่รองรับ aptX
  • ใช้ชิปประมวลผลเสียง QN1, ประมวลผลเสียงแบบ 32bit
  • รองรับการอัพสเกลด้วยเทคโนโลยี DSEE HX
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้นานสุด 10  ชั่วโมง เมื่อใช้งาน NC / 15  ชั่วโมง เมื่อปิด NC, ชาร์จผ่าน USB Type C
  • รองรับชาร์จไว ชาร์จเพียง 10  นาที ใช้งานได้ 80  นาที
  • มีสี ดำ และ เงิน

ถ้าใครจำสเปคของ WI-1000X รุ่นแรกได้ก็อาจจะเห็นว่ามันดูไม่ได้เปลี่ยนไปเยอะนัก หลักๆ เหมือนแค่ปรับให้รับกับเทคโนโลยีใหม่ขึ้นอย่างการเชื่อมต่อที่กลายเป็น Bluetooth 5.0 และใช้พอร์ท USB Type C ถ้าตามตัวหนังสือก็ตามนั้นครับ แต่สำหรับ WI-1000XM2 มีจุดที่น่าให้ความสนใจนอกเหนือจากข้อมูลตัวเลขอยู่พอสมควรเลยครับ

ดีไซน์ที่ปรับปรุงใหม่

ความเห็นของผมหลังจากใช้ WI-1000XM2 มาได้สัปดาห์กว่าๆ ก็พบว่ามีทั้งจุดที่ชอบมากของดีไซน์ใหม่นี้ แต่ก็มีจุดสังเกตที่แอบขัดใจนิดๆ หน่อยๆ อยู่เหมือนกัน มาทยอยดูกันไปทีละเรื่องกันครับ

เริ่มกันที่ตัวก้าน หรือส่วนที่วางพาดบนคอกันครับ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมชอบที่สุดเลยสำหรับรุ่นนี้ เพราะมันแก้ปัญหาที่หลายคนเจอในรุ่นแรกไปหมดสิ้น ท้าวความเล็กน้อยสำหรับรุ่นแรก WI-1000X นั้นโซนี่ออกแบบมาเป็นแบบก้านแข็ง เป็นโลหะแล้วบุด้วยฟองน้ำ มุมนึงก็ดูแข็งแรงดี แต่ใช้มาสักพักกลับพบว่ามันขาดความสบายไปหน่อย เช่น เวลานอนใส่หูฟัง จะรำคาญความแข็งของมัน รวมถึงเคสของผมเอง พอใช้มาสักพักฟองน้ำมันเลยขาดออกมา กลายเป็นว่าทำให้รำคาญได้

พอมาเป็นก้านแบบใหม่ที่ทำมาจากซิลิโคน มันได้ความยืดหยุ่นที่ต้องการ และเผลอๆ อาจจะทนทานกว่าเก่าด้วย เพราะไม่มีฟองน้ำให้หลุดจนเปิดเห็นการเดินสายไฟข้างใน และข้อดีอีกประการที่ได้จากดีไซน์ก้านแบบนี้คือความกะทัดรัด อย่างที่ผมได้นำเสนอไปแล้วตอน Unbox ก็คือก้านมันยืดหยุ่นจนม้วนเก็บได้ และนั่นก็เลยทำให้โซนี่เปลี่ยนแพคเกจกล่องจากรุ่นเก่า เล็กลงกว่าครึ่ง ฮ่าๆ แถมเบาขึ้นด้วยครับ น้ำหนักหายไปจากรุ่นก่อนเกือบ 10 กรัมได้

ถัดมาคือสายของหูฟังที่เปลี่ยนจากแบบกลม มาเป็นแบบเส้นแบนเหมือนหูฟังตระกูล H.ear On ตัวแรกๆ (ผมไม่แน่ใจว่าตัวใหม่ยังแบนอยู่มั้ย) อาจจะเพราะลดการพันกันของสาย แต่เอาเข้าจริงๆ ผมว่ามันแปลกๆ เพราะหูฟังลักษณะ Neckband สายมันค่อนข้างสั้นอยู่แล้ว ไม่น่าจะพันกันง่ายๆ แล้วก็สภาพหูฟังที่ถ้าปล่อยปกติ จุกหูฟังมันจะหันเข้าหาตัวเรา เวลาใส่เลยต้องบิดหมุนมันนิดนึง ผมสังเกตว่าแรงบิดของสายแบนมันแอบเยอะกว่าแบบสายกลม ทำให้บางจังหวะที่ไปจับสาย อาจจะทำให้หูฟังที่ใส่อยู่เคลื่อนได้

แน่นอนว่าแค่จับๆ สาย ตัวหูฟังมันจะเคลื่อนง่ายทำให้สิ่งที่ต่อมีผมไม่ค่อยชอบก็คือตัวคอนโทรลบนสาย เวลาที่กดปุ่มคอนโทรลต่างๆ มันทำให้สายขยับได้ง่ายมากเลย ตรงนี้ผมนับเป็นข้อด้อยหนึ่งจุด อีกจุดที่อยากติหน่อย แต่อาจจะประกอบกับความไม่ชินของผมเองด้วยคือปุ่มที่ต้องจับๆ เรียนรู้หน่อยจนกว่าจะแม่น เพราะว่าปุ่ม เพิ่มเสียง-Play/pause-ลดเสียง ถูกวางอยู่ติดกัน จุดสังเกตคือปุ่มเพิ่มเสียงจะมีตุ่มนูนเล็กๆ และปุ่ม Play/pause จะมีส่วนนูนเป็นเส้นยาว และมีปุ่ม Custom วางแยกออกมา (ซ้ายในภาพ) ใช้สำหรับสลับโหมด NC/Ambient หรือว่าจะตั้งเป็น Google Assistant ก็ได้ครับ

ในส่วนของไมโครโฟนก็จะอยู่อีกด้านนึง อันนีเท่าที่ผมทดลองคุยโทรศัพท์มา ตำแหน่งถือว่าโอเคเลยครับ ไม่ต้องจับหรือขยับ แต่ผมยังไม่มีโอกาสได้ทดลองคุยโทรศัพท์แบบตอนอยู่ข้างถนนหรือที่เสียงดังนะครับ ไว้เดี๋ยวถ้าไปทดลองแล้วจะมาอัพเดตอีกทีหนึ่ง

ต่อจากสายก็มาที่ตัวหูฟังกันครับ ทรงของหูฟังจะดูอ้วนๆ ขึ้นหน่อย แอบรู้สึกว่าตัวเก่าสัดส่วนทรวดทรงลงตัวกว่า

เจ้าส่วนนูนๆ ที่เห็นสะท้อนเงาในภาพทางซ้าย เวลาใส่มันจะค่อนข้างพอดีกับใบหูเราเลยครับ เข้าใจว่าตั้งใจออกแบบมาให้ช่วยเรื่องความฟิตกับหู ส่วนท่อนำเสียงของหูฟัง จะเห็นว่ามีการเอียงอยู่ โซนี่อธิบายว่าเป็นการออกแบบให้สอดเข้ารูหูได้อย่างพอดีและทำให้อยู่ตัวดีกว่าเก่าครับ

ภาพประกอบจากทางโซนี่

แกะจุกหูฟังมาดูกันหน่อย พบว่าโซนี่เปลี่ยนจากฟิลเตอร์ฟองน้ำที่กันพวกขี้หูเข้าไปมาเป็นแบบตะแกรงแล้ว ทำให้เห็นของที่อยู่ข้างในด้วย ให้ผมเดา นั่นน่าจะเป็นตัวไดรเวอร์ Balance Armature ครับ (เทียบจากภาพของโซนี่ทางขวา) ใกล้ชิดหูแบบสุดๆ ส่วนตัวไดรเวอร์ Dynamic จะแอบอยู่ลึกกว่านั้นหน่อย แถวๆ ส่วนที่พื้นที่เยอะกว่านี้

 

พลิกหูฟังมาอีกด้านก็จะพบกับรูไมโครโฟนสำหรับ Noise Canceling ที่แต้มสีทองตัดกับสีดำ แรกๆ ผมว่าทรงหูฟังมันแปลกๆ แหละ แต่เห็นสีคู่นี้บ่อยๆ กลายเป็นชอบไปแล้ว ฮ่าๆ ที่ตัวหูฟังจะมีแม่เหล็กอยู่ด้วย ถ้าวางติดกันแบบในภาพ มันก็จะดูดติดกัน ป้องกันไม่ให้มันแกว่งไปมาระหว่างเราเดินได้ครับ (เท่าที่ผมสังเกต ทำแบบนี้กันหลายเจ้าอยู่)

ระบบ Noise Canceling หรือระบบตัดเสียงรบกวนใน WI-1000XM2 นั้นจะเป็นแบบ Dual Active Noise Canceling ครับ (โซนี่เรียกของตัวเองว่า Dual Noise Sensor Technology) โดยรับเสียงภายนอกผ่านไมค์ในภาพ (เรียกว่า Feed-forward) แล้วข้างในหูฟังจะมีไมค์อีกตัวนึง (เรียกว่า Feed-back) คอยฟังว่าหลังจากตัดเสียงรบกวนไปชั้นหนึ่งแล้วยังเหลือเสียงไหนที่ควรตัดทิ้งอีกบ้างแล้วเอาไปประมวลผลซ้ำอีกทีหนึ่ง ทำให้จัดการตัดเสียงได้ดีขึ้นกว่าเดิม ผมเข้าใจว่าหูฟังหลายๆ แบรนด์ที่ทำ Noise Canceling กันก็พยายามมาทำระบบนี้กันแล้ว

จบส่วนหูฟังเท่านี้ มาเก็บรายละเอียดตรงส่วนก้านที่เหลือกันครับ

ที่ก้านฝั่งซ้ายจะประกอบไปด้วยปุ่ม power (อยู่ด้านบนแถวๆ นิ้วชี้ของผม) แล้วก็มีรูสำหรับเสียบสายหูฟัง 3.5 mm ที่แถมมาในกล่อง แล้วก็ช่องชาร์จไฟที่เป็น USB Type C อันนี้แอบลองแล้ว ช่อง Type C อันนี้รับแค่ไฟไฟชาร์จอย่างเดียวเลยครับ ไม่รับเสียง ฮ่าๆ แอบหงุดหงิดเล็กน้อยที่จุกปิดช่อง USB Type C เป็นแบบเปิดแล้วง้าง ไม่ใช่แบบดึงออกมาแล้วหมุนได้เหมือนรุ่นเก่า

ข้อมูลจากคู่มือที่แถมมาในกล่องระบุว่าเสาอากาศก็จะอยู่ที่ก้านฝั่งซ้ายนี่แหละครับ แถวๆ บริเวณที่นิ้วโป้งผมบังอยู่

ส่วนก้านขวาจะมี NFC อยู่ มือถือใครมีก็แตะปุ๊บ Pair ปั๊บ สบายๆ เลยครับ (ขอบคุณโซนี่ที่ยังให้ความสำคัญกับ NFC ฮ่าๆ) ส่วนใครที่ไม่มี NFC ก็ให้กดปุ่ม power ค้างไว้ราว 7 วินาที หูฟังจะเปิดขึ้นมาแล้วต่อด้วยการเข้าโหมด paring หลังจากนั้นก็หาชื่อ WI-1000XM2 ในหน้าเชื่อมต่อ Bluetooth ได้เลย

ท้ายสุดในเรื่องของดีไซน์ตัวเครื่อง คือโลโก้โซนี่ รุ่นเก่าจะเป็นร่องคล้ายการสลักลงไป แต่รุ่นนี้เป็นสีที่ทาเอาไว้ โดยเลือกใช้สีทองตัดกับดำ เรียกได้ว่าคุมธีมได้ครบถ้วนมาก จนผมสงสัยว่าทำไมไม่เรียกเลขรุ่นกระโดดเป็น WI-1000XM3 เหมือนที่ตัว Full size และ True Wireless ใช้กันไปเลย

ฟีเจอร์ต่างๆ ของ WI-1000XM2

หลายคนน่าจะทราบดีว่าหูฟังของโซนี่ในพักหลังๆ นี่ฟีเจอร์แน่นเอี้ยด สำหรับ WI-1000XM2 ก็ไม่ต่างกันครับ นอกจากการคอนโทรลจากปุ่มบนสายหูฟังแล้วก็ยังสามารถใช้แอป Headphone Connect (โหลดได้ทั้ง Android และ iOS) ของโซนี่ในการปรับแต่งๆ หลายๆ อย่างได้อีกไม่ว่าจะเป็น

  1. Adaptive Sound Control เป็นฟีเจอร์ที่จะใช้เซนเซอร์ในตัวมือถือเพื่อวิเคราะห์อิริยาบถของเราว่านั่งอยู่เฉยๆ (Staying) เดินอยู่ (Walking) วิ่งอยู่ (Running) หรือว่ากำลังอยู่บนยานพาหนะอย่างรถเมล์ รถไฟฟ้า (Transport) แล้วสามารถปรับการตัดเสียงรบกวนหรือการเปิดรับเสียงภายนอกได้ตาม profile ที่ตั้งไว้
  2. Ambient Sound Control สำหรับกรณีที่ไม่ได้เปิดใช้ Adaptive Sound Control ก็จะสามารถปรับการระดับการตัดเสียงรบกวนได้ตั้งแต่ตัดหมดเลย, เฉพาะเสียงลม หรือเปิดให้มีเสียงเข้าบ้างเป็นระดับๆ ไป หรือเน้นที่เสียงคนก็ได้
  3. Noise Canceling Optimizer ปรับการทำงานระบบ NC ตามสภาพความกดอากาศ เช่น เวลาอยู่บนเครื่องบินจะมีความกดอากาศต่ำกว่า (0.7 atm / ภาคพื้นดินคือ 1 atm) ทำให้ต้องปรับการตัดเสียงรบกวนให่เหมาะกับสมกับสภาพแวดล้อมนั้น อันนี้โซนี่นำเสนอมาตั้งแต่รุ่นแรก และรองรับกันเฉพาะแค่ตระกูล WI (in-ear) กับ WH (full size headphones) เท่านั้น (WH-1000XM2, WH-1000XM3)
  4. Equalizer
  5. Now Playing ควบคุมการเล่นเพลงของแอปต่างๆ ผ่านตรงนี้ได้ เช่น เปิด Spotify ก็จะปรากฏตรงนี้ หรือถ้าเป็นแอป Music ในเครื่องก็ได้เช่นกัน
  6. Sound Quality Mode เลือกการส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth ว่าจะส่งแบบเน้นคุณภาพเสียง (เครื่องที่รองรับ LDAC ก็จะใช้งาน LDAC) หรือจะส่งแบบเน้นการเชื่อมต่อที่เสเถียร (SBC codec)
  7. DSEE HX สำหรับเปิดเพื่ออัพสเกลไฟล์เพลง lossy ให้ใกล้เคียง lossless (มีผลเฉพาะไฟล์เพลงที่ Sampling Rate ต่ำกว่า 48 kHz)
  8. Custom function of [C] button ปรับโหมดของปุ่มให้เป็น NC/Ambient หรือ Google Assistant, Amazon Alexa
  9. Automatic Power Off ปิดเครื่องเองถ้า Bluetooth ไม่ได้ต่ออยู่ตามกำหนดเวลา (5 นาที / 30 นาที / 1 ชั่วโมง / 3 ชั่วโมง / ไม่ปิด)

ผมสังเกตว่ามีบางฟีเจอร์ที่รุ่นเก่ามีแต่รุ่นนี้หายไปอย่างพวก

  • Sound Position Control ที่เอาไว้จำลองทิศทางของเสียง
  • Surround (VPT) จำลองเสียงในสภาพแวดล้อมต่างๆ
  • Standby with power saving หยุด NC/Ambient ชั่วคราวเมื่อไม่ได้เล่นเพลงอยู่ อันนี้อยากได้มาก เพราะช่วยประหยัดแบตดี

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะมาตามอัพเดตทีหลังหรือเปล่า อยากให้อัพเดตมานะโซนี่ บอกไว้เผื่อมีคนผ่านมาอ่าน 😉

Noise Canceling ปรับปรุงใหม่และคุณภาพของเสียง

มาถึงจุดที่ผู้อ่านน่าจะรอคอยมากที่สุด ผมรู้ดี เพราะเวลาผมตามอ่านรีวิวหูฟังผมก็ชอบพุ่งมาที่เรื่องของเสียงก่อนเลย แต่อ่านเสร็จแล้วอย่าลืมกลับไปอ่านข้างบนประกอบด้วยนะครับ ฮ่าๆ

แม้ว่าโดยสเปคแล้วจะเหมือนว่า WI-1000XM2 นั้นแทบไม่ต่างอะไรกับ WI-1000X รุ่นแรกเลย แต่สิ่งแรกที่เป็น First Impression สุดๆ ก็คือระบบ Noise Canceling นี่แหละครับ คือเงียบกว่ารุ่นเก่าแบบใครๆ ก็สังเกตได้ ผมทดสอบกับคนรอบตัวโดยการให้ใส่หูฟังข้างนึงเป็น

29/12/2019 11:37 PM