ด้วยสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการจัดงาน Google I/O ในปีนี้ จึงทำให้ทีม Android ของ Google ได้จัดงานออนไลน์ขึ้นมาแทน โดยใช้ชื่อว่า 11 Weeks of Android ที่ในแต่ละสัปดาห์ก็จะมีการปล่อยเนื้อหาต่างๆสำหรับแอนดรอยด์ ซึ่งในสัปดาห์ที่ 2 นี้ได้ปล่อยวีดีโอสำหรับหัวข้อ Machine Learning และได้ประกาศ 10 ผู้ชนะงานแข่งขันที่ชื่อว่า Android Dev Challenge ด้วย
เมื่อปีที่แล้วช่วงปลายปี ทีม Android ของ Google ได้ประกาศจัดงาน Android Dev Challenge ขึ้นมา ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหัวข้อเป็น On-device Machine Learning หรือก็คือแอปที่ส่งเข้าประกวดในงานนี้จะต้องมีการใช้งาน Machine Learning ที่อยู่บนอุปกรณ์แอนดรอยด์นั่นเอง
โดยทาง Google จะคัดเลือกผู้ชนะทั้งหมด 10 ผลงานด้วยกันที่ได้จะเข้าร่วม Bootcamp ที่ Googleplex (สำนักงาน Google สาขาใหญ่) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆของ Google และยังได้ทีม Engineer ของ Google เข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำเพื่อพัฒนาแอปจนเกิดขึ้นได้จริงนั่นเอง
ย้อนไปเมื่อปี 2017 ทาง Google ได้เปิดตัว Tensorflow Lite บนแอนดรอยด์ ซึ่งหยิบความสามารถของชุดพัฒนาสำหรับ Machine Learning หรือ Deep Learning ให้มาอยู่ในแบบฉบับอุปกรณ์พกพาอย่าง Android ซึ่งนอกจากจะเพิ่มลูกเล่นและความสามารถต่างๆให้กับระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอยด์แล้ว ยังเปิดให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นสามารถใช้งาน Tensorflow Lite ได้
จากเดิมที่แอปจะต้องส่งข้อมูลให้เซิฟเวอร์เพื่อนำข้อมูลไปทำ Deep Learning ก็สามารถทำงานบางส่วนบนอุปกรณ์แอนดรอยด์ได้เลย อย่างเช่น ความสามารถของ Portrait Mode ใน Google Camera ที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง
เนื่องจากงานนี้มีผู้ชนะทั้งหมด 10 ทีม ไม่ได้มีการเรียงอันดับผู้ชนะ ดังนั้นลำดับที่เรียงในนี้จะไม่เกี่ยวกับอันดับแต่อย่างใด
Navneet Krishna จาก Kochi, India
แอปพลิเคชั่นสำหรับเกษตรกรเพื่อช่วยวิเคราะห์โรคและปัญหาของต้นไม้ เพื่อแนะนำแนวทางในการแก้ปัญหา โดยจุดเด่นของแอปตัวนี้คือการใช้กล้องมือถือส่องไปที่ใบไม้เพื่อให้แอปทำการวิเคราะห์ได้เลย โดยใช้ข้อมูล Crowdsourcing ที่มาจากเกษตรกรคนอื่นๆที่เคยประสบปัญหาแบบเดียวกัน
จาก Balochisan, Pakistan
แอปพลิเคชั่นสำหรับเกษตรกรเพื่อให้คำแนะนำและข่าวสารสำหรับการทำเกษตรกรรม โดยมีฟีเจอร์เด่นคือการใช้กล้องถ่ายภาพเพื่อวิเคราะห์แบบเดียวกับ AgroDoc แต่จะมีจุดเด่นตรงข้อมูลอื่นๆที่เป็นข้อมูลสำหรับแก่เกษตรกร เช่น ราคาของผักผลไม้ในตลาด หรือข้อมูลพยากรณ์อากาศ
David Mumbere Kathoh จาก Goma, Democratic Republic of Congo
แอปพลิเคชั่นสำหรับช่วยจัดการเรื่องการจ่ายเงิน เพื่อใช้โอนเงิน จ่ายบิล ซื้อบริการต่างๆ (ในประเทศคองโก) โดยใช้ Machine Learning เข้ามาช่วยลดขั้นตอนและความผิดพลาดในการใช้งานของผู้ใช้
Prince Patel จาก Bengaluru, India
แอปพลิเคชั่นสำหรับเรียนรู้วิธีการใช้ภาษามือ มีการสอนท่าทางในแต่ละสถานการณ์ และผู้ใช้ก็สามารถฝึกทำท่าทางผ่านหน้ากล้องเพื่อให้แอปวิเคราะห์ว่าเราทำท่าทางได้ถูกต้องหรือป่าว
Peter Ma จาก San Francisco, California, USA
แอปพลิเคชั่นสำหรับเรียนโยคะ เต้น และฟิตเนสผ่านระบบ Live Streaming โดยผู้ใช้สามารถฝึกท่าทางผ่านกล้องได้ โดยแอปจะมีระบบ AI เพื่อช่วยวิเคราะห์ว่าเราทำท่าทางได้ถูกต้องหรือไม่
Colin Shelton จาก Addison, Texas, USA
แอปพลิเคชั่นสำหรับช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา โดยแอปจะใช้กล้องเพื่อวิเคราะห์ภาพที่อยู่ข้างหน้าเพื่อช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเดินทางด้วยตัวเองได้ง่ายขึ้น
Ethan Fan จาก Mountain View, California, USA
แอปพลิเคชั่นที่จะช่วยผู้ใช้ตรวจจับการนอนกรนและไอ โดยใช้วิธีเปิดไมค์ผ่านแอปเพื่อวิเคราะห์เสียงตอนนอนด้วย Maching Learning
Yingdin Wing จาก Munich, Germany
แอปพลิเคชั่นเพื่อใช้งานร่วมกับ Wearable Device (Wear OS หรือ Fitbit) เพื่อวิเคราะห์ระดับความเครียดของผู้ใช้จากอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับรู้ถึงความเครียดที่ตัวเองมีในแต่ละวัน
Elvin Rakhmankulov จาก Chicago, Illinois, USA
แอปพลิเคชั่นที่จะช่วยบอกข้อมูลสำหรับขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ เพียงแค่ใช้กล้องส่องไปที่ขยะนั้นๆ โดยจะมีข้อมูลต่างๆ รวมไปถึงสถานที่ที่รับขยะรีไซเคิล
Chinmany Mishra จาก New Delhi, India
แอปพลิเคชั่นที่จะช่วยสนับสนุนและแนะนำวิธีการดูแลสุนัขของเราให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยมีการใช้ Machine Learning ในการให้เกณฑ์คะแนนสำหรับสุนัขว่ามีลักษณะแข็งแรงสมบูรณ์
ถึงแม้ว่า 10 ผู้ชนะจะถูกประกาศในงาน 11 Weeks of Android ก็จริง แต่ความน่ารักของงานนี้อย่างนึงก็คือ ปกติแล้วการประกาศผลผู้ชนะจะเกิดขึ้นในงาน Google I/O ซึ่งสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการ จึงทำให้ทาง Google ใช้วิธีการส่งกล่องสำหรับงาน Android Dev Challenge จากประเทศอังกฤษมาให้ถึงที่บ้าน และผมก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับกล่องนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากอยู่ในโปรแกรมของ Google ที่ชื่อว่า Google Developer Experts จึงได้สิทธิ์เข้าร่วมงานนี้จากทางบ้านด้วย
Click to view slideshow.ซึ่งภายในกล่องก็จะมีหนังสือรายละเอียดของงาน Android Dev Challenge ในครั้งนี้ และรายละเอียดของผู้ชนะทั้ง 10 ทีม
Click to view slideshow.ของที่ระลึกจากทาง Google และจากทั้ง 10 ทีมด้วย
Click to view slideshow.ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน ผมก็คงนึกไม่ออกว่าอีกไม่กี่ปี Smartphone ที่เราใช้งานกันอยู่ประจำ จะสามารถทำ On-device Machine Learning ได้ ซึ่ง Machine Learning ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนทั่วไปอย่างเรา ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม แต่ในขณะเดียวกันการทำงานของ Machine Learning ก็จะขาด Data หรือข้อมูลของผู้ใช้ไปไม่ได้เลย จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย
และสิ่งที่น่าสนใจในงาน Android Dev Challenge ก็คือการนำเสนอแอปพลิเคชั่นที่ยกระดับความสามารถด้วย Machine Learning ในรูปแบบของ On-device Machine Learning ซึ่งหมายความว่าแอปก็ยังคงต้องการข้อมูลของผู้ใช้อยู่เหมือนเดิม แต่ข้อมูลดังกล่าวจะถูกใช้งานอยู่ภายในอุปกรณ์แอนดรอยด์ของเรานั่นเอง จึงทำให้เราสามารถใช้งานแอปที่ทำงานได้ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ในการใช้งานของเรามากขึ้น โดยที่มั่นใจได้ประมาณนึงว่าข้อมูลของเราไม่ได้ไปอยู่ในมือของใคร แต่อยู่ในมือของเรา ในอุปกรณ์แอนดรอยด์ของเรานั่นเอง (แต่การทำงานบางอย่างก็ซับซ้อนมากจนต้องใช้ Machine Learning ระดับ Server แหละ เพราะไม่ใช่ทุกอย่างที่ทำบน On-device ได้)
23/06/2020 10:05 PM
23/06/2020 06:11 AM
23/06/2020 03:18 AM
2014 © ปพลิเคชันไทย