Galaxy Quantum 2 ใช้การเข้ารหัสเชิงควอนตัม เพิ่มความปลอดภัยให้แอป โดยเฉพาะกลุ่ม Mobile Banking - Android

Get it on Google Play

Galaxy Quantum 2 ใช้การเข้ารหัสเชิงควอนตัม เพิ่มความปลอดภัยให้แอป โดยเฉพาะกลุ่ม Mobile Banking - Android

Galaxy Quantum 2 จัดเป็นสมาร์ทโฟนอีกหนึ่งรุ่นของ Samsung ที่มาพร้อมกับสเปคที่จัดเต็มแบบสุด ๆ ไล่ตั้งแต่หน้าจอ Dynamic AMOLED 2X รีเฟรชเรท 120Hz, ชิป Snapdragon 855+, กล้อง 3 ตัว ความละเอียดสูงสุด 64MP และแบต 4500 mAh รองรับชาร์จไว 25W แต่ที่เด็ดกว่าทั้งหมดที่กล่าวมาก็คือ มือถือรุ่นนี้ใช้การเข้ารหัสเชิงควอนตัม (Quantum Cryptography) […]

Galaxy Quantum 2 จัดเป็นสมาร์ทโฟนอีกหนึ่งรุ่นของ Samsung ที่มาพร้อมกับสเปคที่จัดเต็มแบบสุด ๆ ไล่ตั้งแต่หน้าจอ Dynamic AMOLED 2X รีเฟรชเรท 120Hz, ชิป Snapdragon 855+, กล้อง 3 ตัว ความละเอียดสูงสุด 64MP และแบต 4500 mAh รองรับชาร์จไว 25W แต่ที่เด็ดกว่าทั้งหมดที่กล่าวมาก็คือ มือถือรุ่นนี้ใช้การเข้ารหัสเชิงควอนตัม (Quantum Cryptography) ที่จะเข้ามาช่วยทำให้แอปในเครื่องมีความปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการโดนโจรกรรมข้อมูลง่าย ๆ นั่นเอง

Galaxy Quantum 2  ถือเป็นการจับมือร่วมกันพัฒนาของ Samsung และโอเปอร์เรเตอร์ SK Telecom สองยักษ์ใหญ่จากแดนกิมจิ ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอย่างที่กล่าวไปข้างต้นคือ สมาร์ทโฟนรุ่นนี้จะเลือกใช้ Quantum Cryptography หรือการเข้ารหัสเชิงควอนตัม โดยด้านในของ Galaxy Quantum 2 จะมีชิป QRNG ขนาด 2.5 x 2.5 มม. คอยประมวลผล สร้างชุดตัวเลขที่คาดเดาไม่ได้มาใช้เป็น Security Key ปกป้องแอปต่าง ๆ ภายในเครื่อง ป้องกันการโดนขโมยข้อมูลส่วนสำคัญจากมัลแวร์หรือการโจมตีทางไซเบอร์ 

สำหรับการเข้ารหัสแบบปกติ ส่วนมากจะใช้เป็นการสุ่มตัวเลขแบบมีตัวกำหนดทั้งสิ้น ซึ่งนั่นหมายความว่า หากมีอุปกรณ์ที่มีกำลังมากพอ ก็ย่อมสามารถเจาะรหัสเข้ามาขโมยข้อมูลได้นั่นเอง ขณะที่แบบเข้ารหัสเชิงควอนตัมนั้น จะใช้เทคนิคที่ซับซ้อนกว่ามาก ๆ โดยจะใช้หลอด LED ยิงลำแสงโปรตอนไปที่เซ็นเซอร์ CMOS

ตามหลักของกฎฟิสิกส์ ลำแสงโปรตอนที่ไปตกกระทบถึงเซ็นเซอร์ CMOS นั้นเป็นการกระทำที่สุ่มและแทบจะมีผลลัพธ์แต่ละครั้งไม่เหมือนกันเลย ทำให้ Security Key ที่ได้ยิ่งเดายากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพราะไม่มีตัวกำหนดหรือตัวแปรใด ๆ มาเกี่ยวข้องเลย

ในทางทฤษฎีแล้ว ยิ่งชิป QRNG สร้างตัวเลข Security Key ให้มีความ Random มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นงานยากต่อกลุ่มแฮคเกอร์หรือผู้ไม่หวังดี ที่จะสามารถเจาะระบบส่วนนี้เข้ามาได้นั่นเอง 

โดยการเข้ารหัสเชิงควอนตัมจะเข้ามาช่วยให้แอปในเครื่อง รวมถึงการทำธุรกรรมบนมือถือ มีความปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตัว QRNG จะเข้ามาสร้างรหัส OTP ที่แข็งแรงและยากต่อการเดา สำหรับการยืนยันตัวตนแบบ 2FA นอกจากนี้ชิปที่ว่ายังเข้ามาช่วยให้พื้นที่เก็บข้อมูลการยืนยันตัวตนของเราต่าง ๆ ไม่ว่าจะเซ็นเซอร์นิ้วมือ หรือ Face ID ให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นสามารถใช้ยืนยันการซื้อของออนไลน์ผ่านแอปหรือเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้

นอกจากนี้ SK Telecom ผู้ร่วมพัฒนา Galaxy Quantum 2 รุ่นนี้ ยังอนุญาตให้ผู้ใช้งานสร้างกระเป๋าตังค์แบบควอนตัม (Quantum Wallets) ขึ้นมาอักด้วย โดยจะไว้ใช้เก็บข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ อาทิ ใบอนุญาต ประกัน และเอกสารลับต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะถูกแปลงข้อมูลเป็นรหัส (Enctypted) ด้วย QRNG

ปัจจุบันมีหลากหลายธนาคารและเซอร์วิสต่าง ๆ ที่รองรับการทำงานร่วมกับการเข้ารหัสเชิงควอนตัม ไม่ว่าจะเป็น T World, T Pass และ T Membership ที่เป็นบริการของตัว SK Telecom เอง หรือ Shinhan Bank Standard และ Chartered Bank Korea ก็มีบริการที่รองรับ Quantum Cryptography นี้เช่นเดียวกัน

ยิ่งไปกว่านั้น ชิป QRNG ยังสามารถทำงานร่วมกับแอปที่ใช้ Android Keystore APIs ในการสร้าง Security Key อีกด้วย ซึ่งนั่นแปลว่า นักพัฒนาจะมีโอกาสที่จะเข้าถึง Quantum Cryptography สำหรับเขียนแอปให้รองรับเทคโนโลนีดังกล่าวนี้ในภายภาคหน้านั่นเอง

น่าเสียดายที่ตอนนี้ Galaxy Quantum 2 จะมีวางจำหน่ายแค่เฉพาะประเทศเกาหลีใต้เท่านั้น ส่วนรุ่นที่วางขายทั่วโลกน่าจะเป็น Galaxy A82 มากกว่า และมีความเป็นไปได้สูงมาก ๆ ที่ A82 จะไม่ได้มาพร้อมกับชิป QRNG ดังกล่าว

 

ที่มา: ZDNet

22/04/2021 04:24 AM