Coronavirus (หรือที่รู้จักกันในชื่อ COVID-19) เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก แต่นอกจากนั้น มันยังถูกใช้เพื่อหลอกลวงคนอีก อะไร Coronavirus Scam? อธิบายง่าย ๆ คือมันคือการหลวงลวงทางอีเมล ทางแชท ทางกลุ่มไลน์ ทางกล่องข้อความ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันสามารถแนบลิ้งค์ได้ โดยเอาสถานการณ์ของ Coronavirus มาแอบอ้าง เพื่อทำให้คนเกิดความกลัว และหลงเชื่อให้ข้อมูลแบบไม่ตั้งใจ ยกตัวอย่างเช่น เช่น ช่วงนี้ กำลังมีการรับเงินเยียวยา 5,000 ถูกไหม มันอาจมีข้อความส่งมาถึงคุณว่า “ทางหน่วยงานได้ตรวจสอบข้อมูลของคุณแล้ว และกำลังจะโอนเงินให้ แต่ข้อมูลนั้นไม่เพียงพอ เราต้องการให้คุณกรอกข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมแนบลิ้งค์มาให้” ซึ่งในความเป็นจริง รัฐจะไม่ส่งลิ้งค์ให้เรา แต่เราต้องเข้าไปลงทะเบียนเอง เพิ่มเติมในเรื่องคำว่า หน่วยงาน “คนชั่วพวกนี้อาจแอบอ้างเป็นอะไรก็ได้ เป็นกระทรวงคลัง เป็นกระทรวงพาณิชย์ เป็นสาธารณสุข หรือเป็นนายกเลยก็ได้ (ฮ่า ๆ) แบบว่า “นายกได้ตรวจสอบข้อมูลของคุณแล้ว” ไรงี้ แล้วมันรู้ข้อมูลเราได้ไง ? มันมีสองแบบนะ แบบแรกคือ มันจะส่งอีเมลแบบหว่านแหไปเรื่อย ๆ หากมีการตอบกลับ […]
The post Coronavirus Scams พวกมันคืออะไร และเราจะป้องกันมันได้อย่างไร appeared first on techhub.
Coronavirus (หรือที่รู้จักกันในชื่อ COVID-19) เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก แต่นอกจากนั้น มันยังถูกใช้เพื่อหลอกลวงคนอีก
อธิบายง่าย ๆ คือมันคือการหลวงลวงทางอีเมล ทางแชท ทางกลุ่มไลน์ ทางกล่องข้อความ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มันสามารถแนบลิ้งค์ได้ โดยเอาสถานการณ์ของ Coronavirus มาแอบอ้าง เพื่อทำให้คนเกิดความกลัว และหลงเชื่อให้ข้อมูลแบบไม่ตั้งใจ
ยกตัวอย่างเช่น เช่น ช่วงนี้ กำลังมีการรับเงินเยียวยา 5,000 ถูกไหม มันอาจมีข้อความส่งมาถึงคุณว่า “ทางหน่วยงานได้ตรวจสอบข้อมูลของคุณแล้ว และกำลังจะโอนเงินให้ แต่ข้อมูลนั้นไม่เพียงพอ เราต้องการให้คุณกรอกข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมแนบลิ้งค์มาให้” ซึ่งในความเป็นจริง รัฐจะไม่ส่งลิ้งค์ให้เรา แต่เราต้องเข้าไปลงทะเบียนเอง
เพิ่มเติมในเรื่องคำว่า หน่วยงาน “คนชั่วพวกนี้อาจแอบอ้างเป็นอะไรก็ได้ เป็นกระทรวงคลัง เป็นกระทรวงพาณิชย์ เป็นสาธารณสุข หรือเป็นนายกเลยก็ได้ (ฮ่า ๆ) แบบว่า “นายกได้ตรวจสอบข้อมูลของคุณแล้ว” ไรงี้
มันมีสองแบบนะ แบบแรกคือ มันจะส่งอีเมลแบบหว่านแหไปเรื่อย ๆ หากมีการตอบกลับ มันก็จะเริ่มคัดกรองแล้วเล่นกับเหยื่อต่อ
ส่วนแบบที่สองคือ มันอาจมีข้อมูลเราส่วนหนึ่ง อาจเป็น ชื่อ – นามสกุล เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต และอีเมล หากมีข้อมูลแค่ 1 -2 อย่าง มันอาจจะพยายามหลอกล่อเพื่อเอาข้อมูลส่วนอื่นให้ครบพอที่จะเอาไปทำธุรกรรมได้
โดยข้อมูลที่มันมีเบื้องต้น มันอาจมาจาก 1.เราอาจเคยให้ข้อมูลไปโดยไม่รู้ตัว 2.บริษัทดังทำข้อมูลเราหลุดเช่น Facebook หรือ Twitter ที่ทำข้อมูลลูกค้าหลุด และ 3.อาจมีการซื้อขายข้อมูลกันในตลาดมืด
เราไม่สามารถเข้าไปลบข้อมูลบางส่วนที่มันได้ไปแล้วนะ แต่พยายามอย่าให้ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นพอ
1.เมื่อเจออีเมลหรือข้อความหลอกลวง ให้ลบออก หรือบล๊อคไปเลย (หลักการดูจะอยู่ในหัวข้อถัดไปจ้า)
2.อย่าตอบกลับอีเมลหรือข้อความใด ๆ
3.อย่ากดคลิกลิ้งค์ เนื่องจากคุณอาจโหลดเว็บไซต์ที่มีมัลแวร์โดยไม่ได้ตั้งใจ
4.ใช้ซอฟต์แวร์ internet Security ช่วย ลงได้ทั้งในมือถือและคอม ราคาอยู่ที่ 199 – 399 บาทต่อปี ผมซื้อในงานคอมมาร์ตราคาถูกลงมาก
1.ชื่ออีเมลหรือชื่อผู้ส่งมักใช้ชื่อที่คล้ายกับหน่วยงานที่แอบอ้าง
2.มักขอให้เปิดภาพหรือกดลิ้งค์ที่แนบมาให้ โดยไม่บอกรายละเอียดที่ชัดเจนเท่าไหร่
3.มักกระตุ้นความรู้สึกทางอารมณ์หรือสร้างเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อผู้ใช้จำเป็นต้องรีบตัดสินใจ เช่น เงิน 5,000 จะโอนเข้าแล้วนะ แต่คุณต้องรีบกรอกข้อมูลภายในเย็นวันนี้ ถ้าไม่กรอก ถือว่าคุณสละสิทธิ์
4.บางครั้งอาจใช้ภาษา หรือสำนวนแปลก ๆ เพราะอาจเป็นแฮกเกอร์จากต่างประเทศแล้วใช้ Google Translate แปลเอา เช่น “เรากำลังจะส่งเงินให้คุณ แต่เราต้องการวันเกิดของคุณ โปรดคลิกลิ้งค์เพื่อให้ข้อมูลกับเราในทันที” นี่เป็นตัวอย่างนะ แต่เคยมีเมลแบบนี้ส่งมา ภาษาจะคล้ายแบบนี้เลย
มันยากมาก ๆ ที่จะหลีกเลี่ยง การตกเป็นเป้าหมายหลอกลวง Coronavirus เนื่องจาก เพราะเราไม่รู้ว่าแฮกเกอร์มีข้อมูลอะไร และเรารับข่าวสารเกี่ยวกับ Coronavirus อยู่ตลอดเวลา มันอาจทำให้จิตใจอ่อนไหวได้ง่าย
แต่เรื่องแบบนี้มันฝึกกันได้ 1.มั่นใจว่าคุณจะไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณกับใครที่ไม่น่าเชื่อถือ 2.เลือกรหัสผ่านที่คาดเดายากและปรับปรุงซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 3.อย่าคลิกอีเมลที่ไม่พึงประสงค์และคิดก่อนที่จะโต้ตอบกับอะไรออนไลน์
The post Coronavirus Scams พวกมันคืออะไร และเราจะป้องกันมันได้อย่างไร appeared first on techhub.
08/04/2020 09:56 AM
08/04/2020 05:41 PM
08/04/2020 05:34 PM
08/04/2020 09:48 AM
08/04/2020 05:48 PM
2014 © ปพลิเคชันไทย