หลายคนน่าจะทราบกันไปแล้วถึงผลการประมูลคลื่น 1800MHz เมื่อวันก่อน ซึ่งทาง AIS และ dtac เป็นเพียงสองรายที่เข้าร่วมการประมูล คว้าใบอนุญาตกันไปเพียงคนละใบ ใบละ 10MHz (5MHz x 2) ทำให้เหลือใบอนุญาตอีกถึง 7 ใบ สถานการณ์คลื่นของ AIS ดีขึ้นอีก แต่ดีแทคน่าเป็นห่วงเพราะคลื่นหายไปเพียบ สรุปจำนวนคลื่นที่แต่ละเครือข่ายมีอยู่ *คลื่น 2300MHz หลายครั้งเราจะได้ยินว่ามีจำนวน 60MHz เพราะเป็นคลื่นที่ให้บริการในระบบ TDD ซึ่งมีการคิดจำนวนคลื่นที่ต่างออกไป ในที่นี้จึงขอนับคลื่น […]
The post 10MHz (5MHz x 2) ที่แตกต่าง : สรุปประมูลคลื่นส่งผลกระทบอะไรกับผู้ใช้ AIS, dtac, Truemove H appeared first on DroidSans.
หลายคนน่าจะทราบกันไปแล้วถึงผลการประมูลคลื่น 1800MHz เมื่อวันก่อน ซึ่งทาง AIS และ dtac เป็นเพียงสองรายที่เข้าร่วมการประมูล คว้าใบอนุญาตกันไปเพียงคนละใบ ใบละ 10MHz (5MHz x 2) ทำให้เหลือใบอนุญาตอีกถึง 7 ใบ สถานการณ์คลื่นของ AIS ดีขึ้นอีก แต่ดีแทคน่าเป็นห่วงเพราะคลื่นหายไปเพียบ
*คลื่น 2300MHz หลายครั้งเราจะได้ยินว่ามีจำนวน 60MHz เพราะเป็นคลื่นที่ให้บริการในระบบ TDD ซึ่งมีการคิดจำนวนคลื่นที่ต่างออกไป ในที่นี้จึงขอนับคลื่น FDD แบบเดียวกับคือทั้งขา Uplink และ Downlink เพื่อให้เห็นจำนวนคลื่นที่ใช้งานจริงของทั้ง 2 ระบบ
ปัจจุบันคนที่ใช้เครือข่ายเอไอเอสหลายคนน่าจะพอใจกับคุณภาพสัญญาณที่ใช้งานอยู่ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่พบเจอปัญหากันบ้าง โดยเฉพาะเวลาที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่คนเยอะๆ มีการใช้งานดาต้ากันหนักๆ การได้คลื่น 1800MHz เพิ่มขึ้นมาอีก 10MHz (5MHz x 2)ก็จะช่วยให้การบริการในส่วนนี้ทำได้ดีขึ้นอีก และใครที่ใช้มือถือ 4G รุ่นเก่า ไม่รองรับการรับสัญญาณ 4G หลายคลื่นพร้อมกัน (Carrier Aggregation) ก็จะสามารถทำความเร็วได้เพิ่มเติมอีกด้วย จับเพียงคลื่น 1800MHz คลื่นเดียวก็มีความกว้างของสัญญาณให้ใช้ถึง 40MHz (20MHz x 2) กลายเป็นเจ้าเดียวในไทยที่มีคลื่นความถี่ให้บริการในย่านเดียวกว้างขนาดนี้ จากที่แต่ก่อนดีแทคเคยใช้สโลแกนนี้ทำการตลาดมาก่อน และเมื่อรวมจำนวนคลื่นทั้งหมดในพอร์ท ทำให้ปัจจุบัน AIS มีจำนวนคลื่นในมือถึง 120MHz (60MHz x 2) ขึ้นแท่นเป็นเบอร์หนึ่งของผู้ให้บริการที่มีจำนวนคลื่นในมือมากที่สุดไปเรียบร้อย
ซึ่งงานนี้ AIS ประกาศตัวเต็มที่ว่านี่แหละคือพลังของ 4G Super Block เพราะในตอนนี้ไม่มีใครถือคลื่น 1800 เต็มบล็อก 40MHz (20MHz x 2) อีกแล้ว (ก่อนหน้านี้คือ dtac Super 4G ที่บอกว่ากว้างที่สุด แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 5×2 MHz )
ทาง AIS บอกว่าการได้คลื่น 1800MHz เข้ามาเพิ่มเต็มเป็น Super Block ด้วยคลื่นที่ชุดความถี่ติดกันนั้นทำให้สามารถเพิ่มความเร็วจาก 300Mbps เพิ่มเป็น 390Mbps ได้ รวมถึงยังสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้มากขึ้นอีก 33%
ณ ที่นี้ จึงขออธิบายการทำงานของคลื่น FDD กับ TDD แบบสั้นๆ ว่ามันต่างกันยังไงเผื่อใครมีข้อสงสัยนะครับ ระบบ Frequency Division Deplexing (FDD) นั้นสามารถรับส่งสัญญาณได้พร้อมกับเหมือนมี 2 ช่องถนน เลยมีการคูณ 2 เข้าไปเพื่อให้สะท้อนกับสภาพการใช้งานคลื่นจริงๆ ส่วนระบบ Time Division Duplexing (TDD) นั้นเป็นถนเส้นเดียวสลับกันรับส่ง เลยไม่มีการคูณเพิ่มช่องสัญญาณเข้าไปนั่นเอง
กดอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 4G FDD vs TDD ต่างกันอย่างไร
ถ้าใครใช้ดีแทคอยู่ น่าจะได้รับ SMS เข้ามาแจ้งถึงการชนะประมูลคลื่น 1800MHz แต่เรื่องนึงที่ดีแทคไม่ได้บอกคือ ดีแทคได้คลื่นมาเพียง 5x2MHz แต่กำลังจะต้องเสียคลื่นไปถึง 70MHz* เพราะหมดสัมปทานในเดือนหน้านี้แล้ว (แบ่งเป็นคลื่นสัมปทานจาก CAT 1800 MHz จำนวน 50MHz (25MHz x 2) และคลื่น 850 MHz จำนวน 20MHz (10MHz x 2) ดังนั้นคลื่น 1800MHz ที่เป็นคลื่นหลักในการให้บริการ 4G กำลังจะหายไปเกือบ 75% ส่วนคลื่น 2300MHz ที่ได้มาจากทาง TOT ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้ เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการขยายโครงข่ายและเครื่องมือถือในปัจจุบันก็ยังไม่รองรับคลื่น 2300MHz มากนัก
ส่วนคลื่น 850MHz ที่ปัจจุบันดีแทคให้บริการเฉพาะ 2G อยู่นั้นก็ไม่มีผลอะไรกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่าไหร่อยู่แล้ว (จะหมดสัมปทานในเดือนกันยายน 2561 นี้เช่นกัน) ดังนั้นภาพรวมของคุณภาพคลื่นดีแทคจัดว่าน่าเป็นห่วง และต้องรอดูว่าดีแทคจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร สามารถขอเยียวยาและใช้งานคลื่นต่อได้แค่ไหน หรือต้องรอให้เกิดการประมูลครั้งใหม่ขึ้นมา ที่ไม่รู้ว่าจะมีขึ้นเมื่อไหร่ และป่านนั้นทั้งสองเครือข่ายอาจจะพร้อมสู้ราคามากกว่าปัจจุบันแล้วก็เป็นได้ สำหรับคนที่ใช้งานดีแทคอยู่ น่าจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงจริงจังหลังหมดสัมปทานในเดือนตุลาคมนี้ ก็ต้องรอดูกันครับ
*จำนวนคลื่นสัมปทานจากเดิมที่ CAT และ Dtac ถือครองอยู่จริงๆมีอยู่ 45×2 MHz แต่ว่าดีแทคใช้จริงที่ 25MHz จึงเอาเพียงแค่นี้มาคำนวนนะ
แม้ว่าในการประมูลครั้งนี้ True จะไม่เข้าร่วม แต่หลายฝ่ายก็เข้าใจได้เพราะคลื่นที่เค้ามีอยู่มีค่อนข้างเพียงพอแล้วสำหรับการให้บริการ และคลื่นถูกนำออกมาประมูลในครั้งนี้ไม่ใช่คลื่นเดิมของทาง True แต่อย่างใด ทำให้ปัจจุบัน True มีคลื่นตาม AIS อยู่ 10MHz (5MHz x 2) ซึ่งเมื่อคิดสัดส่วนของจำนวนคลื่นและจำนวนลูกค้าแล้ว True ยังถือว่ามีตัวเลขที่ดีอยู่ และคนใช้บริการหลายคนก็ยังค่อนข้างพอใจ โดยในปัจจุบันจำนวนลูกค้าของ True มีมากเป็นอันดับสองแซงดีแทคไปเรียบร้อย และเริ่มมีผลกำไรมากขึ้น หากมีการประมูลครั้งต่อไปในอีกหลายปีข้างหน้า True น่าจะมีสถานการณ์การเงินที่ดีเพียงพอที่จะเข้าร่วมการประมูลได้อย่างดีแน่นอน
จบการประมูลครั้งนี้ไปดูเหมือนว่าคนที่ได้จริงๆจะมีเพียง AIS ที่เก็บคลื่นเข้าพอร์ทเข้าไปเพิ่มเติม ทรูไม่ได้ไม่เสียอะไร ส่วนดีแทคเสียเต็มๆ แต่คนใช้ก็ยังมีทางเลือกได้ว่าอยากจะเอายังไงต่อ แต่ที่เสียแบบเลือกไม่ได้ก็คือพวกเรา และประเทศชาติที่คลื่นความถี่สองอันรวมแล้วถึง 45×2 MHz ถูกฟรีซเอาไว้ไม่ได้ใช้งาน แทนที่จะได้เงินเอามาใช้บริหารประเทศ หลายหมื่นล้าน ได้คลื่นเอามาพัฒนาเครือข่ายให้ดีขึ้นให้เร็วและเสถียรกว่าเดิม กลับกลายเป็นว่างเปล่าประโยชน์
อย่างไรก็ดีล่าสุดทางกสทช. ได้มีการแถลงข่าวเพิ่มเติมโดยน่าจะมีการจัดประมูลใหม่อีกรอบ นำเอาทั้งสองคลื่นความถี่นี้มาเปิดประมูลอีกครั้งโดยปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเพิ่มเติม แต่ไม่มีการลดราคาประมูล โดยความเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไขหลักๆ ได้แก่
ก็ต้องรอดูว่าการประมูลครั้งต่อไปจะสามารถจัดขึ้นได้เมื่อไหร่ ทุกฝ่ายต่างก็อยากให้เกิดการประมูลขึ้นด้วยกันทั้งนั้น เพราะปัจจุบันแต่ละเครือข่ายยังต้องการคลื่นความถี่ไปเพิ่มเติมกันด้วยทั้งนั้น เพื่อรองรับกับเทคโนโลยี 5G ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ โดยในปัจจุบันแต่ละค่ายก็มีการปูทางนำเทคโนโลยีเครือข่ายล้ำๆ มาติดอาวุธเพิ่มเข้าไปอยู่เนืองๆ ซึ่งมีความน่าสนใจยังไงบ้างไว้จะมาเล่าให้ฟังกันต่อไปครับ
The post 10MHz (5MHz x 2) ที่แตกต่าง : สรุปประมูลคลื่นส่งผลกระทบอะไรกับผู้ใช้ AIS, dtac, Truemove H appeared first on DroidSans.
24/08/2018 10:22 AM
24/08/2018 08:04 AM
24/08/2018 08:21 PM
24/08/2018 06:43 AM
24/08/2018 07:17 AM
2014 © ปพลิเคชันไทย