“Liquid Lens” เลนส์เหลวของ Mi MIX FOLD คืออะไร ดีกว่าเลนส์ปกติตรงไหนบ้าง - Android

Get it on Google Play

“Liquid Lens” เลนส์เหลวของ Mi MIX FOLD คืออะไร ดีกว่าเลนส์ปกติตรงไหนบ้าง - Android

คำกล่าวว่า “น้ำกับน้ำมัน” เป็นการเปรียบถึงบางสิ่งที่มิอาจเข้ากันได้ แต่นั่นไม่ใช่กับเลนส์เหลว (liquid lens) เพราะเทคโนโลยีชนิดนี้มีสสารทั้ง 2 ชนิดข้างต้นเป็นส่วนประกอบ ถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Bruno Berge นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้ว โดดเด่นทั้งเรื่องของขนาดและน้ำหนักที่บางเบา การทำงานที่ฉับไว แถมยังทนทานกว่าเลนส์ทั่วไปแบบทาบกันไม่ติด เลนส์ที่เปลี่ยนรูปร่างได้ด้วยแรงดันไฟฟ้า Bruno Berge พบว่า ประจุไฟฟ้าส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของของเหลวที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้า การหักเหแสงที่ส่องผ่านของเหลวดังกล่าวย่อมแปรเปลี่ยนตามไปด้วย ลองนึกภาพง่าย ๆ เหมือนอย่างหยดน้ำที่ติดอยู่บนหน้าจอสมาร์ทโฟน ทำให้เราเห็นพาเนลภายในได้ชัดเจนราวกับแว่นขยาย ภาพจาก […]

คำกล่าวว่า “น้ำกับน้ำมัน” เป็นการเปรียบถึงบางสิ่งที่มิอาจเข้ากันได้ แต่นั่นไม่ใช่กับเลนส์เหลว (liquid lens) เพราะเทคโนโลยีชนิดนี้มีสสารทั้ง 2 ชนิดข้างต้นเป็นส่วนประกอบ ถูกคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Bruno Berge นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้ว โดดเด่นทั้งเรื่องของขนาดและน้ำหนักที่บางเบา การทำงานที่ฉับไว แถมยังทนทานกว่าเลนส์ทั่วไปแบบทาบกันไม่ติด

เลนส์ที่เปลี่ยนรูปร่างได้ด้วยแรงดันไฟฟ้า

Bruno Berge พบว่า ประจุไฟฟ้าส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของของเหลวที่มีคุณสมบัตินำไฟฟ้า การหักเหแสงที่ส่องผ่านของเหลวดังกล่าวย่อมแปรเปลี่ยนตามไปด้วย ลองนึกภาพง่าย ๆ เหมือนอย่างหยดน้ำที่ติดอยู่บนหน้าจอสมาร์ทโฟน ทำให้เราเห็นพาเนลภายในได้ชัดเจนราวกับแว่นขยาย


ภาพจาก Optics Mag

จากการค้นพบข้างต้น นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสรายนี้จึงเกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า อาจสามารถนำไปใช้ทดแทนเลนส์แบบดั้งเดิมได้ เนื่องจากคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเลนส์เหลว ทำให้สามารถกำหนดความยาวโฟกัสได้อย่างอิสระ แตกต่างจากเลนส์แบบดั้งเดิมที่มีความยาวโฟกัสตายตัว โดยขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการผลิตและองศาความโค้ง

ขนาดเล็กลง 85% ทนทานกว่าเดิม 50 เท่า

เลนส์เหลวยังมีข้อได้เปรียบหลายอย่างที่เหนือกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องอาศัยชิ้นเลนส์ภายในหลาย ๆ ชิ้น รวมถึงมอเตอร์ขับเคลื่อนเชิงกลสำหรับปรับโฟกัส ส่งผลให้น้ำหนักโดยรวมเบาลงมาก นอกจากนี้ ด้านขนาดเองก็ลดลงถึง 85% หากเปรียบเทียบกับเลนส์ทั่วไป เพียงพอที่จะนำไปใช้งานกับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่สมาร์ทโฟน

ข้อดีของเลนส์เหลวยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะความทนทานเองถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่น จากการที่แทบจะไม่มีชิ้นส่วนภายในอยู่เลย จึงทำให้ทนทานต่อแรงกระแทกไปโดยปริยาย แถมอายุการใช้งานยังยาวนานถึง 100 ล้านรอบ ในขณะที่เลนส์แบบกลไกทำได้เพียง 1 แสน หรือมากสุดที่ประมาณ 2 ล้าน รอบเท่านั้น เป็นตัวเลขที่ห่างกันแบบเทียบไม่ติดเลย

Xiaomi นำมาใช้งานกับสมาร์ทโฟนเป็นรายแรก


Mi MIX FOLD ประเดิมใช้ “เลนส์เหลว” รุ่นแรกของโลก

แม้ว่า HUAWEI จะมีข่าวลือเกี่ยวกับเลนส์เหลวมาตั้งแต่ปี 2018 แต่ด้วยปัญหาประการใดก็มิอาจทราบได้ จึงยังคงไร้วี่แววจวบจนปัจจุบัน จนล่าสุดทาง Xiaomi ได้ชิงตัดหน้า นำไปใช้งานกับ Mi MIX FOLD เป็นรุ่นแรกของโลกเป็นที่เรียบร้อย เผยโฉมกันไปสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2021 ที่ผ่านมา โดยใส่มาในกล้องเทเลโฟโต้นั่นเอง

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราเห็นการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างของกล้องถ่ายภาพในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนที่เป็นไปในทิศทางบวก ไล่ตั้งแต่เซนเซอร์ภาพที่บรรดาผู้ผลิตต่างก็ไปอัปเกรดความสามารถในการโฟกัสมาใหม่ ทั้ง Samsung, Sony หรือแม้แต่ OmniVision

มีการนำนวัตรกรรมใหม่ ๆ อย่างเลนส์ฟรีฟอร์มและเลนส์เหลวมาใช้ ชิปประมวลผลภาพที่ Xiaomi พัฒนาขึ้นเอง เรียกได้ว่า ผ่านไปยังไม่ทันจะพ้นครึ่งปี แฟล็กชิปยังเปิดตัวกันไม่ครบทุกแบรนด์ ยังแข่งขันกันดุเดือนขนาดนี้ เป็นอีก 1 ปีที่น่าจับตามองอย่างไม่ต้องสงสัยเลยล่ะครับ

อนึ่ง ในช่วงที่ Bruno Berge ประสบความสำเร็จในการออกแบบอุกรณ์เลนส์เหลวได้เป็นครั้งแรกนั้น เขาเคยเสนอขยายเทคโนโลยีนี้ให้กับ Canon บริษัทผู้ผลิตกล้องและเลนส์ชื่อก้องโลกสัญชาติญี่ปุ่น แต่กลับโดนปฏิเสธ สุดท้ายจึงตัดสินใจก่อตั้งบริษัท Varioptic ของตัวเองขึ้นมาในปี 2002

 

อ้างอิง : Edmund Optics (1, 2) | EPO

03/04/2021 02:05 AM