ตามที่หลายคนทราบแล้วว่าดีแทคกำลังจะหมดสัมปทานคลื่น 850/1800 MHz ในวันที่ 15 กันยายนที่จะถึงนี้ และเมื่อเช้า 6 ก.ย. ที่ผ่านมาก็ได้มีการร้องไปยังศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครองไม่ให้ซิมดับเนื่องจากมีผู้ใช้งานหลายรายที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งคำตัดสินน่าจะออกมาก่อนวันหมดสัมปทาน อย่างไรก็ดีทางดีแทคได้มีการเตรียมมาตรการรองรับพร้อมชี้แจงว่าใครได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้บ้างเอาไว้ดังนี้ คนกรุงและหัวเมืองใหญ่ได้รับผลกระทบบางส่วน ต้องห่วงเฉพาะที่พื้นที่ห่างไกล สำหรับลูกค้าดีแทคในกรุงเทพ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ หลังวันที่ 15 กันยายนนี้ อาจจะได้รับผลกระทบกันบ้างจากที่คลื่นภายใต้สัมปทานบางส่วนได้สิ้นสุดลง ซึ่งปัจจุบันทางดีแทคได้มีการวางคลื่นใหม่ dtac-T บนความถี่ 2300MHz กันไปพอสมควรแล้วแต่สำหรับลูกค้าที่น่าจะได้รับผลกระทบมากหน่อยจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ยังใช้สัญญาณ 2G อยู่ โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ชายขอบสัญญาณ ชายทะเล […]
The post เปิดข้อมูลใครได้รับผลกระทบหลังดีแทคหมดสัมปทานคลื่น 850/1800MHz appeared first on DroidSans.
ตามที่หลายคนทราบแล้วว่าดีแทคกำลังจะหมดสัมปทานคลื่น 850/1800 MHz ในวันที่ 15 กันยายนที่จะถึงนี้ และเมื่อเช้า 6 ก.ย. ที่ผ่านมาก็ได้มีการร้องไปยังศาลปกครองเพื่อขอคุ้มครองไม่ให้ซิมดับเนื่องจากมีผู้ใช้งานหลายรายที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งคำตัดสินน่าจะออกมาก่อนวันหมดสัมปทาน อย่างไรก็ดีทางดีแทคได้มีการเตรียมมาตรการรองรับพร้อมชี้แจงว่าใครได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้บ้างเอาไว้ดังนี้
สำหรับลูกค้าดีแทคในกรุงเทพ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ หลังวันที่ 15 กันยายนนี้ อาจจะได้รับผลกระทบกันบ้างจากที่คลื่นภายใต้สัมปทานบางส่วนได้สิ้นสุดลง ซึ่งปัจจุบันทางดีแทคได้มีการวางคลื่นใหม่ dtac-T บนความถี่ 2300MHz กันไปพอสมควรแล้วแต่สำหรับลูกค้าที่น่าจะได้รับผลกระทบมากหน่อยจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ยังใช้สัญญาณ 2G อยู่ โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ชายขอบสัญญาณ ชายทะเล รวมถึงพื้นที่ห่างไกลต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะไม่ได้มีเพียงชาวบ้าน และผู้สูงอายุที่ไม่ทราบเรื่องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่มีการใช้สัญญาณ 2G เพื่อติดต่อสื่อสารกันระหว่างเครื่อง (M2M – Machine to Machine) อีกด้วย ซึ่งจะมีจำนวนอยู่ไม่น้อยเลย
เปรียบเทียบพื้นที่สีชมพูคือคลื่น 850MHz ในสัมปทานเดิม
เมื่อหายไป เหล่าบ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือรถที่ขับข้ามรอยต่อสัญญาณ จะได้มีสัญญาณตามภาพ
ดีแทคกำลังเติมสัญญาณเพิ่มในช่วงรอยต่อทำ Densification ให้สามารถใช้งานได้ดีกว่าเดิม แต่อย่างไรก็ดีคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลมากๆ ก็ยังอาจะได้รับผลกระทบเพราะขาดคลื่นความถี่ต่ำ
ลูกค้า | จำนวน |
ลูกค้าดีแทคบนคลื่นสัมปทาน | รวม 340,000 ราย แบ่งเป็น
|
ลูกค้าดีแทคบนคลื่นประมูล (ภายใต้บริษัท DTN) แต่มีการใช้งานโรมมิ่งคลื่น 850 MHz ประจำ | มากกว่า 1,000,000 ราย |
ดีแทคชี้แจงถึงความพยายามที่จะช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
ซึ่งในกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบนี้ ทางดีแทคได้มีการวางมาตรการคุ้มครองเอาไว้ดังนี้
ลูกค้า | ผลกระทบ | มาตรการคุ้มครอง |
กรณีที่1 ลูกค้า 2G/3G มือถือฟีเจอร์โฟนต่างๆ ที่ยังไม่ได้เปลี่ยนซิม ทั้ง 340,000 ราย | ใช้งานไม่ได้ | ต้องมาเป็นเปลี่ยนซิม DTN ลูกค้าสามารถเช็คสถานะซิมที่ใช้งานอยู่โดยกด *444# โทรออก ลูกค้าจะได้เปลี่ยนซิมใหม่ฟรี พร้อมข้อเสนอมือถือราคาพิเศษ |
กรณีที่2 ลูกค้าที่ใช้มือถือปุ่มกดหรือฟีเจอร์โฟน ที่รองรับคลื่น 1800MHz ที่จดทะเบียนซิม DTN | สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องตามปกติ | ลูกค้าจะได้รับข้อเสนอมือถือราคาพิเศษที่รองรับการใช้งาน คลื่นดีแทคเทอร์โบ |
กรณีที่3 ลูกค้าที่อยู่บางพื้นที่ จะไม่ได้รับความสะดวกในการใช้งาน | ได้รับผลกระทบจากการใช้งาน สามารถเช็คได้ที่ *777 โทรออก (เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย.2561) | ลูกค้าจะได้รับข้อเสนอดาต้าและโทรฟรี ให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากการใช้งาน ทั้งลูกค้าพรีเพดและโพสต์เพด |
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมดีแทคถึงต้องได้รับการเยียวยาหลังหมดสัมปทาน ทั้งที่เป็นการตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูลเอง ซึ่งตรงนี้ทางดีแทคได้ให้ข้อมูลเอาไว้ดังนี้ครับ
ลูกค้าดีแทคในกรุงเทพและหัวเมืองใหญ่น่าจะได้รับผลกระทบกันบ้างหลังวันที่ 15 ก.ย.นี้ แต่จะค่อยๆดีขึ้นเพราะมีการปูพรมวางเสาคลื่น 2300MHz จำนวนมากไว้แล้ว ส่วนลูกค้าในต่างจังหวัดที่ใช้มือถือปุ่มกดหรือฟีเจอร์โฟนบนคลื่น 850/1800 MHz มีความเสี่ยงสัญญาณไม่ดีเท่าเดิม รวมถึงซิมดับ ตรวจสอบซิมดีแทคที่ใช้งานอยู่ว่าได้รับผลกระทบหรือไม่โดยกด *444# แต่ทั้งหมดนี้รอฟังคำตัดสินศาลภายในวันที่ 12 ก.ย. นี้ว่าจะให้ความคุ้มครองแก่ดีแทคหรือไม่
อ่านรายละเอียดเต็มๆเพิ่มเติมจากทางดีแทคถึงการคุ้มครองลูกค้า ตามด้านล่างนี้ได้เลยครับ
ดีแทคให้คำมั่น คุ้มครองลูกค้า บรรเทาผลกระทบหลังหมดสัมปทาน
- ดีแทคยื่นฟ้องเพิกถอนมติ กสทช. และขอคุ้มครองลูกค้าชั่วคราวต่อศาลปกครอง ป้องกันผลกระทบหลังหมดสัมปทาน
- พร้อมเร่งขยายโครงข่าย2100 MHz และ2300 MHz ของทีโอที ให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง
แนะลูกค้าเปลี่ยนซิมจากดีแทคเป็นDTN มอบข้อเสนอให้ลูกค้าที่ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้งานบางพื้นที่
6 กันยายน2561 – ดีแทคให้คำมั่นที่จะต่อสู้เพื่อลูกค้า ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง หลังสิ้นสุดสัญญาในระบบสัมปทานกับ CAT ในวันที่ 15 ก.ย. 2561 ซึ่งในเช้าวันนี้ดีแทคได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนมติ กสทช. วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และพร้อมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติและ/หรือกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครอง เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (“ประกาศมาตรการเยียวยาฯ”) ในระหว่างนี้ดีแทคได้ทุ่มเทอย่างเต็มความสามารถในการขยายโครงข่ายการให้บริการให้เข้าถึงลูกค้า เพื่อชดเชยปัญหาการใช้งานที่อาจเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า
นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “นับเป็นความรับผิดชอบของดีแทคในการต่อสู้เพื่อลูกค้า โดยในปี 2559ดีแทคได้เรียกร้องให้มีการจัดประมูลคลื่นล่วงหน้า (Early auction) ตลอดจนแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum roadmap) ซึ่ง กสทช.ได้จัดการประมูลคลื่น 900 MHz เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานล่วงหน้าเพียง 2 เดือน นอกจากนี้ ด้วยเงื่อนไขและสถานการณ์ที่แตกต่าง โดยเฉพาะความแตกต่างทางเทคนิคระหว่างคลื่น 900 MHz และ 850 MHz ซึ่งในทางปฏิบัติต้องใช้เวลาประมาณ 24 เดือนเพื่อเปลี่ยนถ่ายอุปกรณ์ใหม่จำนวนมากกว่าหมื่นแห่ง”
“นอกจากนี้ เพื่อปฏิบัติตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ของ กสทช. เพื่อให้ลูกค้าดีแทคที่ยังอยู่ในระบบสัมปทานเดิม ซิมไม่ดับและมั่นใจในการใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา ดีแทค และ CAT ได้ร่วมยื่นแผนคุ้มครองลูกค้ากรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน ต่อ กสทช. ซึ่งก่อนหน้านี้ กสทช. ได้เคยอนุมัติการเยียวยาแก่ผู้ให้บริการรายอื่นที่เป็นคู่แข่งของดีแทคเป็นระยะเวลา 9 เดือน และ 26 เดือน อย่างไรก็ตาม กรณีของดีแทคที่กำลังจะหมดสัมปทานคลื่น 850 MHz ลงในวันที่ 15 กันยายนนี้ กสทช. ได้กำหนดเงื่อนไขในการได้รับสิทธิเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ หากดีแทคเข้าร่วมประมูลคลื่น 900 MHz ตามมติ กสทช. วันที่18 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ซึ่งเป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์ของประกาศมาตรการเยียวยาของ กสทช.”
“ในขณะที่ผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งยังไม่ได้นำส่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 MHzในช่วงคุ้มครองผู้ใช้บริการตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ซึ่งดีแทคพูดเสมอว่าเรายินดีที่จะชำระค่าใช้คลื่นในช่วงที่เข้าสู่มาตรการเยียวยาฯ”
“ขณะที่เหลืออีกเพียง 9 วันก่อนสิ้นสุดสัมปทาน ดีแทคจึงจำเป็นต้องใช้สิทธิตามประกาศมาตรการเยียวยาฯ ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนมติ กสทช. ดังกล่าว เพื่อสิทธิประโยชน์ของลูกค้าดีแทคในการใช้งานคลื่น 850 MHz
07/09/2018 05:43 AM
07/09/2018 09:50 AM
07/09/2018 03:30 AM
07/09/2018 05:34 AM
07/09/2018 08:56 AM
07/09/2018 09:33 AM
07/09/2018 12:13 PM
2014 © ปพลิเคชันไทย