วันนี้ทางดีแทคได้เปิดบ้านแถลงแผนพัฒนาเครือข่าย แจงไม่มีคลื่น 2600 MHz ก็ไม่เป็นไร เตรียมให้บริการ 5G บน 700MHz และ 26GHz มั่นใจพัฒนาประสบการณ์ใช้งานลูกค้าได้ดีขึ้นกว่าเดิม คาดสามารถเปิดให้บริการ 5G ด้วยคลื่น 26 GHz ในพื้นที่ที่กำหนดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 และขยายใช้คลื่น 700 MHz เพิ่มเติมในช่วงปลายปีต่อไป
ปัจจุบันดีแทคมีคลื่นในมือสำหรับให้บริการ 5G อยู่ 2 คลื่นหลัก ได้แก่ คลื่น 700 MHz ที่ประมูลได้มาเมื่อกลางปี 2019 ที่ผ่านมา และคลื่น 26 GHz ที่เพิ่งประมูลจบไปไม่กี่วันก่อน โดยทั้งสองคลื่นมีคุณลักษณะที่ต่างกัน คือ
โดยคลื่น 26GHz นี้ เป็นคลื่นพร้อมใช้งาน ไม่ติดสัมปทานใดๆ ดีแทคเตรียมจะให้บริการได้ภายในไตรมาสสองนี้ ในพื้นที่ที่กำหนด แต่ยังไม่มีการเปิดเผยชัดเจนว่าจะใช้งานแบบไหนอย่างไร คงต้องรอเปิดตัวในช่วงเวลาดังกล่าวต่อไป
ส่วนคลื่น 700 MHz มีการเปิดเผยว่าจะมาในช่วงเดือนตุลาคม สาเหตุที่ต้องรอนานขนาดนั้นก็เพราะ ต้องรอทาง กสทช จัดการคลื่น ลดสัญญาณกวนต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อน และทางดีแทคมองว่าเมื่อถึงตอนนั้น อุปกรณ์ 5G ในตลาดน่าจะมีตัวเลือกที่มากขึ้น และรองรับคลื่น 700 MHz ได้ด้วย
Galaxy S20 Ultra 5G รองรับเพียงคลื่น 2600 / 3500 / 3700 MHz ไม่รองรับคลื่นที่ดีแทคมีอยู่ในมือเลย แต่ทางดีแทคคาดว่าอาจจะมีคนได้รับผลกระทบไม่เยอะมาก เพราะมีจำนวนคนใช้ไม่เยอะจากราคาที่ค่อนข้างสูง แต่สมาร์ทโฟนรุ่นอื่นที่รองรับ 5G จะมีออกตามมาในปีนี้ ในราคาที่ต่ำกว่า เข้าถึงคนได้มากกว่า และน่าจะรองรับทั้ง 700 MHz และ 26GHz ด้วย
ทางคุณประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี ได้ให้เหตุผลเอาไว้ว่าคลื่น 2600 MHz เป็นคลื่นที่ใกล้เคียงกับ 2300 MHz ดีแทคสามารถใช้คลื่นนี้ให้บริการได้โดยตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคทั้งในด้านความเร็วและความครอบคลุม บนเทคโนโลยี 4G ที่เป็น Massive MIMO ที่ผ่านมา คลื่นนี้ก็ให้บริการได้อย่างดีจนทาง OpenSignal ได้ให้รางวัลว่าเป็นเครือข่ายในไทยที่ทำความเร็วในการดาวน์โหลดมากที่สุดของประเทศ ไม่ได้จำเป็นจะต้องซื้อคลื่น 2600 MHz เพิ่มเพื่อมาให้บริการแต่อย่างใดและมีการเปรยว่าคลื่น 1800 และ 2300 สามารถแปลงไปใช้งานเป็น 5G ในอนาคตได้ เมื่อมีความต้องการมากขึ้น และมีอุปกรณ์รองรับอย่างแพร่หลาย
อย่างไรก็ดี มีการแย้งในเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องที่ยากหากจะนำคลื่น 2300 MHz ไปให้บริการ 5G ทั้งสัญญาที่ได้มาในปัจจุบันไม่สามารถทำได้ และสัมปทานคลื่นของ TOT ก็จะหมดในปี 2568 นี้แล้ว โอกาสที่ทาง TOT จะได้ใช้งานต่อก็เป็นไปได้ยาก รวมถึงอุปกรณ์ที่จะรองรับก็ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะครอบคลุมถึงคลื่นนี้หรือไม่
ปัจจุบันสถานีฐานของดีแทคสำหรับ 4G คลื่น FDD (1800/2100 MHz) จะมีอยู่ราว 3.2 หมื่นสถานี ส่วนสถานีฐานของคลื่น TDD (2300 MHz) จะมีอยู่ราว 17,000 สถานีเท่านั้น ตามแผนการขยายเครือข่ายในปีนี้จะเพิ่มให้มีจำนวนมากกว่า 20,000 สถานี ต่อไป โดยมีเงินลงทุนในการขยายเครือข่ายทั้งหมด (ทั้ง 3G/4G/5G ที่ 13,000 – 14,000 ล้านบาท)
คลื่นความถี่ของดีแทคในปัจจุบัน รวม 330 MHzย่านความถี่ต่ำ | ย่านความถี่กลาง | ย่านความถี่สูง |
900 MHz (5×2 MHz) 700 MHz (10×2 MHz) | 2300 MHz (60 MHz) 2100 MHz (15×2 MHz) 1800 MHz (5×2 MHz) | 26 GHz (200 MHz) |
หลายคนแสดงความเป็นห่วงว่า คลื่นที่ดีแทคมีในปัจจุบันน้อยกว่าทาง AIS และ Truemove H ค่อนข้างมาก โดยทั้งสองเครือข่ายมีคลื่นมากถึง 1450 MHz และ 1020 MHz ตามลำดับ แต่ทางค่ายแจ้งว่าจำนวนนี้ถือว่าเพียงพอกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีแล้ว มีครบทุกย่านความถี่ ทั้งสูง กลาง ต่ำ ซึ่งก่อนหน้าการประมูลถ้าคำนวนจำนวนคลื่นต่อจำนวนลูกค้า ถือว่าเครือข่ายมีปริมาณคลื่นให้ลูกค้าต่อรายที่เยอะกว่าทั้งสองเจ้าอยู่ในระดับนึง การที่ค่ายอื่นที่มีลูกค้ามากกว่า 10-20 ล้านราย ต้องมีใบอนุญาตที่มากกว่า 3-4 เท่า ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกอะไร
ปัจจุบันปริมาณการใช้งานดาต้าภายในเครือข่ายดีแทคเฉลี่ยต่อรายต่อเดือนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ในปี 2018 จะอยู่ที่ราว 8GB และขึ้นมาเป็น 11 GB ในปี 2019 คาดว่าจะขึ้นถึง 16 GB ต่อเดือนในปี 2020 นี้
ในงานแถลงข่าววันนี้นอกเหนือจากเรื่องการประมูล 5G แล้ว ดีแทคพยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงความพยายามพัฒนาประสบการณ์ใช้งานเครือข่ายของลูกค้าในทุกๆด้าน มีการใช้ AI ในการช่วยทำแคมเปญการตลาด คัดสรรสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละราย และการมี 5G ในตอนนี้ก็อาจจะไม่ได้จำเป็นสำหรับผู้ใช้ขนาดนั้น เพราะสิ่งที่ทุกคนต้องการมันคือเน็ตเวิร์คที่เสถียร เชื่อถือได้ มีความครอบคลุม รับส่งข้อมูลปริมาณมากได้เมื่อต้องการ การทำให้เน็ตเวิร์ค 4G ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดอาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า
การสร้างเครือข่าย 5G ให้เกิดประโยชน์ได้จริงและต่างไปจากเมื่อตอน 3G/4G ได้นั้นทางดีแทคมองว่าจะต้องมีการขยายการใช้งานในแนวตั้ง (Vertical) กล่าวคือ 5G จะไม่มีขึ้นเพื่อสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ต้องทำไปเพื่อสร้างการเชื่อมต่อกับสิ่งอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไร้คนขับ ระบบควบคุมทางไกลแบบซีโร่แลก (zero-lag control) เซนเซอร์ในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องใช้พลังงานต่ำ ระบบ Mixed Reality และอื่นๆ หากไม่มีเรื่องเหล่านี้แล้ว 4G ก็ยังตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีไม่ต่างกันเลยนั่นเอง
นี่ก็เป็นสิ่งที่ดีแทคแถลงมาในวันนี้ คงต้องรอติดตามการแถลงจากทาง AIS และ Truemove H ต่อไปว่าจะมีอะไรมาเซอร์ไพรส์ผู้ใช้งานเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่ดีแทคได้บอกไว้หรือไม่
18/02/2020 03:45 PM
18/02/2020 05:40 AM
18/02/2020 08:26 AM
18/02/2020 03:12 PM
2014 © ปพลิเคชันไทย