โลกทุกวันนี้อำนาจอยู่ในมือผู้ซื้อ ดังนั้นรูปแบบการทำธุรกิจจึงเปลี่ยนไป ดังที่เราเห็นบริษัทสตาร์ทอัพหน้าใหม่ สามารถล้มยักษ์ใหญ่ต้วมเตี้ยมได้หลาย ๆ ครั้งแบบไม่น่าเชื่อ
The post กระบวนการตัดสินใจ เมื่อต้องซื้อสินค้าออนไลน์และจากหน้าร้าน appeared first on AripFan.
โลกทุกวันนี้อำนาจอยู่ในมือผู้ซื้อ ดังนั้นรูปแบบการทำธุรกิจจึงเปลี่ยนไป ดังที่เราเห็นบริษัทสตาร์ทอัพหน้าใหม่ สามารถล้มยักษ์ใหญ่ต้วมเตี้ยมได้หลาย ๆ ครั้งแบบไม่น่าเชื่อ
สัปดาห์ก่อนผมทำงานแปลชิ้นหนึ่งให้กับเอเจนซี่เมืองนอก เป็นงานแปลเอกสารภายในของบริษัทเฟอร์นิเจอร์ระดับโลกรายหนึ่ง ซึ่งอธิบายถึงประสบการณ์ของลูกค้านับตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง โดยสรุปรวมไว้ในตารางเพื่อให้เห็นขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะยอมจ่ายเงินซื้อสินค้า
โลกทุกวันนี้อำนาจอยู่ในมือผู้ซื้อ ดังนั้นรูปแบบการทำธุรกิจจึงเปลี่ยนไป ดังที่เราเห็นบริษัทสตาร์ทอัพหน้าใหม่ สามารถล้มยักษ์ใหญ่ต้วมเตี้ยมได้หลาย ๆ ครั้งแบบไม่น่าเชื่อ
ส่วนหนึ่งในเอกสารดังกล่าวอธิบายถึงขั้นตอนการตัดสินใจ (ซึ่งใครเรียนวิชาพฤติกรรมผู้บริโภคมา ก็น่าจะพอคุ้นเคยอยู่บ้าง) เริ่มตั้งแต่การเกิดปัญหาหรือเกิดความต้องการ การหาข้อมูลเบื้องต้น ตัวเลือกต่าง ๆ การตัดทอนตัวเลือก การหาข้อมูลเชิงลึก การสอบถามความเห็นจากคนรอบข้าง (ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก) เรื่อยไปจนถึงการซื้อสินค้า การจ่ายเงิน การจัดส่งหรือการรับสินค้า ฯลฯ
ในแต่ละขั้นตอนนั้น มีหลายจุดที่ลูกค้าสามารถหยุดกระบวนการ เปลี่ยนใจไม่ซื้อ หรือเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากแบรนด์อื่น .. ถ้าเราเตรียมตัวไม่ดีพอ
มีงานวิจัยหลายชิ้นบอกว่า คนยุคนี้เป็นคนชอบความรวดเร็ว อยากได้ทุกอย่างทันใจ เรียกว่าความอดทนต่ำกว่า ส่วนหนึ่งก็เพราะถูกหล่อหลอมจากความสะดวกสบายทางเทคโนโลยี อีกส่วนหนึ่งเพราะมีทางเลือกในการซื้อสินค้านับไม่ถ้วน นั่นคือโจทย์ของแบรนด์หรือร้านค้าที่จะต้องรับมือให้ได้
เมื่อไม่นานมานี้ผมอยากได้เครื่องชงกาแฟใหม่หนึ่งเครื่อง เอาไว้ชงเอสเปรสโซดื่มเองทุกเช้า และมีปัญหาเครื่องดูดฝุ่นเครื่องเดิมพัง ก็เลยต้องซื้อใหม่:
สำหรับเครื่องชงกาแฟนั้น ผมหาข้อมูลมาพอสมควรแล้ว และได้แบรนด์ที่ต้องการ แต่สำหรับเครื่องดูดฝุ่น เดิมต้องการเพียงเครื่องเดียว แต่จบด้วย 3 เครื่อง และไม่ได้แบรนด์ที่ต้องการเลย เดิมทีผมต้องการเครื่องดูดฝุ่นของ Dyson ซึ่งทำใจไม่ได้ เพราะราคาเมืองนอกกับราคาเมืองไทยนั้น ต่างกันแบบเกินเท่าตัว จากราคาหมื่นกลายเป็นสามสี่หมื่น แถมข้อมูลสินค้าเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก็มีไม่ค่อยครบ
ผมไม่ได้บอกว่า กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผมนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือเป็นสิ่งที่ลูกค้าทุกคนปฏิบัติ ผมไม่ได้มีความภักดีกับแบรนด์เหล่านี้ ดังนั้นการตัดสินใจจึงสวิงไปมา และพร้อมเปลี่ยนค่ายทันทีที่เกิดปัญหา ซึ่งแบรนด์ไม่สามารถแก้ไขให้ได้ ต่างจากสาวก Apple หรือ Samsung ที่หลายครั้งซื้อสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่โดยไม่เปรียบเทียบกับยี่ห้อไหนเลย
ผมซื้อสินค้าบนเว็บ Tesco Lotus เพราะเว็บมีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ และมีการบันทึกรายการสินค้าที่ซื้อบ่อยเอาไว้ ขณะเดียวกันก็เคยเปลี่ยนไปซื้อสินค้าบนเว็บ Big C (Cmart หรือชื่อเดิม Cdiscount) แต่ไม่ถูกใจ เพราะข้อมูลสินค้าไม่ครบ .. ผมเป็นคนประเภทที่ว่า ซื้อกระดาษทิชชู่แล้วดูความยาวเป็นเมตร (ไม่ได้นับเป็นม้วน) เพื่อหารราคาค่าเฉลี่ยต่อเมตร หรือซื้อน้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม โดยไม่ได้ดูขนาดถุงหรือขวด แต่ดูปริมาตรเป็นลิตร
ผมบอกไม่ได้ว่า กระบวนการตัดสินใจของผม เป็นแบบเดียวกับกระบวนการตัดสินใจของลูกค้าของคุณหรือไม่ คนรวยก็ใช้ตรรกะอย่างหนึ่ง บางคนไม่ใช้ตรรกะอะไรเลย แค่หน้าตาถูกใจ คนขายพูดจาดีก็ซื้อแล้ว แต่ผมเป็นประเภทลูกค้าขี้งก ราคาถูกอย่างเดียวไม่ได้ ต้อง “ถูกและดี” และต้องได้ถูกกว่าราคาตลาดทั่วไป
ดังนั้นสิ่งที่เล่ามาทั้งหมดนี้ แม้จะเป็นแค่กระบวนการตัดสินใจส่วนตัวของผมเอง แต่สังเกต “ข้อความสีแดง” .. นั่นคือ จุดที่มีโอกาสหักเห และแบรนด์ที่ดี ก็จะพยายามกลบจุดเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
บทความโดย กิตติพล อัจฉริยากรชัย (Comtoday ฉบับที่ 539)
The post กระบวนการตัดสินใจ เมื่อต้องซื้อสินค้าออนไลน์และจากหน้าร้าน appeared first on AripFan.
16/01/2019 06:21 AM
2014 © ปพลิเคชันไทย